Sunday, 15 May 2016

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน Learning and ICT Center for all









Use your learning center for consult and share experience and push them into best income and house hold income..by local business or tourism or other ways...differential..

http://www.cdd.go.th/web/

12 May 16
ด่วน แจ้งข้อมูลทะเบียนศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เป็นปัจจุบัน ประจำปี 2559 ***สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ แบรนด์เนอร์ เว็บไซด์ กรมการพัฒนาชุมชน ** ข้อมูลรายจังหวัด ศรช.+ศก.พพ.rar












15 May 16
{{พะเยา}}งานประเพณี "แปดเป็ง" หรือ งาน "ไหว้สาพระเจ้าตนหลวง"ประเพณีแปดเป็งวัดพระเจ้าตนหลวง ประจำปี2559 {{คลิปข่าว}} http://bit.ly/1qkV6yl [Announcement]
            
เชิญร่วมบำเพ็ญบุญบารมี ฟังธรรมเทศนา แห่พระอุปคุต ชมมหกรรมโคมไฟล้านนาสีสันศรีโคมคํา งานแปดเป็งประเพณีไหว้สาพระเจ้าตนหลวง ครบรอบ 525 ปี ประจำปี 2559 ระหว่างประเทศ 14 ถึง 20 พฤษภาคม 2559 ณ วัดศรีโคมคำ คำพระอารามหลวง อำเภอเมืองพะเยาจั งหวัดพะเยา...สุดยอดงานวัดหนึ่งเดียวในตำนานเมืองพะเยา…งานประเพณี "แปดเป็ง" หรือ งาน "ไหว้สาพระเจ้าตนหลวง"ประเพณีแปดเป็งวัดพระเจ้าตนหลวง หรือ วัดศรีโคมคำ อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ประจำปี 2559..มีขึ้นในระหว่างวันที่ 14 - 20 พฤษภาคม 2559 มีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ขบวนแห/อัญเชิญพระอุปคุต จากท่าเรือวัดติโลกอาราม ถึงลานหน้าพระวิหารหลวงวัดศรีโคมคำ ,การแสดงตีกลองสะบัดชัยถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระอุปคุต,การแสดงศิลปวัฒนธรรม,เจริญพระพุทธมนต์,สวดเบิกสมโภชน์,ทำบุญตักบาตร สรงน้ำองค์พระเจ้าตนหลวง,การแสดงพระธรรมเทศนาพื้นเมืองทุก ๆ ปี เดือนพฤษภาคม เดือน 8 ของภาคเหนือ มีประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา แต่สำเนียงล้านนาออกว่า “แปดเป็ง” อักษร พ เป็น ป จังหวัดพะเยา ได้กำหนดจัดงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ วันที่ 14-20 พฤษภาคม 2559พระเจ้าตนหลวง สร้าง พ.ศ. 2034 เสร็จ พ.ศ. 2067 ตำนานเล่าถึงวันแปดเป็งที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตนหลวงตั้งแต่เริ่มสร้างจนกระทั่งเสร็จ จึงมีการจัดประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงขึ้น ประเพณีแปดเป็งพระเจ้าตนหลวงเป็นงานประเพณีของ จ.พะเยา ซึ่งจัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญอย่างยิ่งของ จ.พะเยาหรืออาจจะกล่าวๆได้ว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ในล้านนาก็ว่าได้ เนื่องจากมีการจัดงานสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปี เมื่อถึงเทศกาลประเพณีดังกล่าว ผู้คนจากทั่วสารทิศจะเดินทางมาสู่ จ.พะเยาเพื่อกราบนมัสการขอพรจากองค์พระเจ้าตนหลวง พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล้านนาและสร้างธรรมบารมีให้กับตนเองอย่างไม่ขาดสาย เบียดเสียดกันเพื่อเข้าไปกราบพระเจ้าตนหลวง ทั้งคนใน จ.พะเยา และต่างจังหวัด เช่น ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ในอดีตต่างประเทศ เช่น เชียงตุง ประเทศพม่า สินสองปันนา ประเทศจีนตอนใต้ และประชาชนจากหลวงพระบาง ประเทศสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เดินทางมาเพื่อแสวงบุญกันอย่างล้นลาม แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันแต่ละประเทศเข้มงวดกับประชาชนของตนจึงทำให้การเดินทางไม่สะดวกและลดหายไปสำหรับประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านคำว่า “แปดเป็ง” นั้นเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวล้านนาโดยแยกออกเป็นสองคำ คือ แปด กับคำว่า เป็ง คำว่า “ แปด ” ก็คือวันเพ็ญเดือน ๘ (เหนือ) ทางภาคกลางถือว่าเป็นเดือน ๖ ซึ่งการนับเดือน คนทางภาคเหนือโดยเฉพาะแถบล้านนาจะนับเดือนไวกว่าคนทางภาคกลางไปสองเดือน ดังนั้นพอถึงเดือน ๖ อันเป็นเดือนที่เสวยฤกษ์วิสาขะ หรือวันวิสาขบูชา (วันเพ็ญเดือน ๖ ) คนทางเหนือจึงถือว่าเป็นเดือน ๘ คำว่า “เป็ง” ก็คือคืนวันเพ็ญ หรือคืนที่พระจันทร์เต็มดวงนั้นเอง ซึ่งมีค่าแทนคำว่า วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เมื่อรวมสองคำเข้าด้วยกันว่า “ แปดเป็ง” จึงมีความหมายว่า วันเพ็ญเดือน ๖ (๘ เหนือ) พระจันทร์เต็มดวงเสวยฤกษ์วิสาขะ ขึ้น ๑๕ ค่ำ นั่นเองโดยแต่ละปี ทางวัดศรีโคมคำ จะกำหนดจัดงานแปดเป็งในช่วงสัปดาห์วันวิสาขบูชา กิจกรรมสำคัญคือวันวิสาขบูชา ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศจะแห่กันมากราบไหว้าพระเจ้าตนหลวงอย่างไม่ขาดสายเพื่อขอพรและความเป็นสิริมงคล ในปี 2559 ประเพณีแปดเป็งมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2559จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนได้ร่วมประเพณีดังกล่าว.. {{คลิข่าว}} 


14 May 16 <นครสวรรค์บ้านเรา>>ประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐจังหวัดนครสวรรค์ [Announcement]
            
เมื่อเวลา 09.00 น.ของวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 นางยุพา ศรีแก้วหล่อ พัฒนาการจังหวัดนครสวรรค์และนางศุภลักษณ์ แก้วมณี หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐจังหวัดนครสวรรค์ ( คปจ . นครสวรรค์) พร้อมด้วยตัวแทน คสช.ระดับจังหวัด ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม ตัวแทนขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด ปลัดจังหวัด คลังจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ฯลฯ เพื่อร่วมพิจารณาตรวจทานความพร้อมโครงการเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากด้วยประชารัฐ จาก โครงการของ 15 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีท่านรองผวจ นายอภิสรรค์ สง่าศรี เป็นประธาน ทั้งนี้เพื่อพิจารณาโครงการต่างๆที่แต่ละอำเภอเสนอ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด และนางยุพา ศรีแก้วหล่อ พัฒนาการจังหวัดนครสวรรค์ได้เปิดผลการประชุมว่า ได้สอบทานความพร้อมจำนวน 741 กองทุนและผ่านการพิจารณาแล้ว 732 กองทุน ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดได้เป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดประชุม /////ข่าวโดยกลุ่มงานสารสนเทศฯพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ 

No comments:

Post a Comment