Tuesday 4 December 2012

Speed up by rail...way


http://www.fleth.co.th/index.php/en/news/528-528


รถไฟความเร็วสูง ของประเทศไทย

E-mailPrintPDF
ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ
หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม
ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ
หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม
ล่าสุดทางดร. จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานย่อย
เพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทยเปิดเผยว่า ทาง
ประเทศจีนขอใช้สัญญาสัมปทานจำนวน 50 ปี ซึ่งขัดกับข้อกฎหมายไทยที่กำหนดให้สัมปทานสูงสุด
เพียง 30 ปีเท่านั้น รวมทั้งต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนด้วยว่าจะใช้รูปแบบใด
สัดส่วนการลงทุนจะเป็น 50% หรือ 51 ต่อ 49% หรือไม่ เพราะโครงการดังกล่าวไม่ใช่แค่เดินรถ
ระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการเดินทางภายในประเทศด้วย   ทั้งนี้จะได้ร่างเอ็มโอยูใหม่
ในปลายปีนี้ก่อนที่จะหาข้อสรุปในต้นปี 2554 ก่อนสรุปรายละเอียดก่อนจัดทำเอ็มโอยูฉบับสมบูรณ์
เสนอไปยังที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจึงมีการลงนามกับจีนต่อไป
 

ขณะที่ช่วงต้นปีหน้าเหมือนกันที่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จะส่งผลรายงาน
สรุปหลังจากทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน ( Market Sounding) ในโครงการรถไฟฟ้า
ความเร็วสูง 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร
และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 754 กิโลเมตร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทาง
การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ชุดที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธานภายในเดือนธันวาคมนี้เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือนมกราคม 2554
ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มากกว่า
เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เนื่องจากมองว่าเส้นระยองมีระยะทางสั้นเกินไป โดยเฉพาะนักลงทุน
จากญี่ปุ่น   ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะประเทศจีนให้ความสนใจลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
ตอนนี้พูดง่าย ๆ คือรถไฟความเร็วสูงใช้ไทยเป็นเวทีต่อรอง และคานอำนาจทางเศรษฐกิจไปเสียแล้ว
ระหว่าง จีน และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามทาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก
สายเหนือ:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท
สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท
สายใต้:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - แม่กลอง - หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท    
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท
สายตะวันออก:  
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - บางปะกง - ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท    
ถ้าราคาเป็นอย่างนี้จริงผมคิดว่าในอนาคตสายการบินโลว์คอสต์อาจจะต้องกระอัก เพราะราคาน่าสนเฉพาะ
เส้นทางเชียงใหม่ 4 ชั่วโมงราคาพันนิด ๆ   ตอนนี้ก็อยากให้เกิดขึ้นดีกว่า และสายการบินในไทยจะต้อง
ปรับตัวครั้งใหญ่อีกระลอก แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่าต้องกำกับตรวจสอบโครงการอย่างเข้มงวดเพราะวงเงินสูง
เหลือเกินตัดเปอร์เซนต์ 20-30% ก็ไม่เบาเหมือนกันครับ!



รถไฟความเร็วสูง ใครได้ ใครเสีย? : SCB EIC

พิมพ์



ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC ออกบทวิเคราะห์   รถไฟความเร็วสูง ใครได้ ใครเสีย? ระบุว่า
ภายใต้กรอบแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปี 2013-2020 มูลค่า 2 ล้านล้านบาท โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สาย มีมูลค่าการลงทุนรวมสูงที่สุดถึง 4.81 แสนล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สายเร่งรัดที่รัฐประกาศว่าจะเริ่มเปิดใช้บริการประมาณปี 2018 ระยะทาง 745 กิโลเมตร รถไฟวิ่งด้วยความเร็ว 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง สู่ใจกลางเมือง ประมาณราคาค่าโดยสารไว้ที่ 1,200 บาทต่อเที่ยว ใครมีแนวโน้มได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ จากรถไฟความเร็วสูงสายนี้บ้าง?

ราคาค่าโดยสาร 1,200 บาทต่อเที่ยว ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ค่าโดยสาร 1,200 บาท หรือ 1.6 บาท/กิโลเมตร เป็นราคาที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่มีรถไฟความเร็วสูงให้บริการแล้ว เช่น จีน มีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.2 บาท/กิโลเมตร ส่วนญี่ปุ่น มีราคาแพงที่สุด เฉลี่ย 9.5 บาท/กิโลเมตร ในขณะที่ เกาหลี และไต้หวัน ค่าโดยสารเฉลี่ย 3.4 และ 5 บาท/กิโลเมตร ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างของราคา ขึ้นอยู่กับระดับค่าครองชีพและการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ 1,200 บาทต่อเที่ยว ไว้เบื้องต้น ซึ่งเมื่อโครงการเป็นรูปธรรมมากขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า ค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นกับค่าครองชีพในขณะนั้น และนโยบายของภาครัฐ ที่อาจยอมแบกรับภาระต้นทุนค่าโดยสาร โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในด้านอื่นมากกว่า เช่น การเติบโตของพื้นที่ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ถึงผู้ได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ ในส่วนต่อจากนี้ จะใช้สมมติฐานของราคาค่าโดยสาร 1,200 บาท เป็นหลัก

ผู้โดยสารบางส่วนจากการเดินทางทางรถไฟ และถนน มีแนวโน้มหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง เพราะได้ประโยชน์จากการประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้โดยสารเดิมที่เดินทางโดยรถไฟแบบด่วนพิเศษ รถโดยสารปรับอากาศชนิด VIP หรือ 1st Class และรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งการเดินทางที่ใช้เวลาสั้นลงจะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาส จากการใช้เวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่สร้างรายได้หรือให้ประโยชน์สูงกว่า ทั้งนี้ รถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แบบด่วนพิเศษ ใช้เวลาในการเดินทางสูงถึง 12 ชั่วโมง ค่าตั๋วโดยสารตู้นอนปรับอากาศชั้น 1 และ 2 มีราคา 800 - 1,450 บาทต่อเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงที่ 1,200 บาท ผู้โดยสารรถไฟด่วนพิเศษน่าจะยอมจ่ายแพงกว่าเล็กน้อย เพื่อให้สามารถเดินทางได้รวดเร็วขึ้นจาก 12 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนผู้ที่เคยจ่ายตู้นอนปรับอากาศที่มีราคาสูงถึง 1,450 บาท คงเปลี่ยนไปนั่งรถไฟความเร็วสูงอย่างแน่นอน ยกเว้นผู้ที่ต้องการนอนในรถไฟเพื่อประหยัดค่าที่พัก

เช่นเดียวกับผู้โดยสารรถปรับอากาศชนิด VIP ซึ่งมีราคาค่าโดยสาร 876 บาท ใช้เวลาเดินทาง 9 ชั่วโมงครึ่ง หากเปลี่ยนมาใช้รถไฟความเร็วสูงจะต้องจ่ายค่าโดยสารที่แพงขึ้น แต่สามารถประหยัดเวลาในการเดินทางได้ถึง 6 ชั่วโมง ส่วนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ปกติจะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง คาดว่าผู้โดยสารส่วนหนึ่งจะหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพราะประหยัดเวลา และน้ำมัน ซึ่งการลดจำนวนรถโดยสารและรถยนต์ในท้องถนน จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร และลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ อุบัติเหตุทางถนนบริเวณพื้นที่เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ไม่รวมอุบัติเหตุในกรุงเทพฯ) ปี 2011 เกิดขึ้นราว 1 หมื่นครั้ง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเกือบ 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการเดินทางทางถนนที่ลดลงยังช่วยลดปัญหามลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะรถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่ารถยนต์ถึง 10 เท่า

ผู้โดยสารเครื่องบินส่วนหนึ่งจะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง จากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ด้วยระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ปัจจุบัน ตั๋วเครื่องบินเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีราคาประมาณ 2,500 บาทต่อเที่ยว สายการบิน Low cost ราคา 1,650 - 2,000 บาทต่อเที่ยว ใช้ระยะเวลาบิน 1 ชั่วโมง 15 นาที หากรวมเวลาที่ต้องไปสนามบินก่อน 1 ชั่วโมง และเวลาเดินทางจากสนามบินเข้าตัวเมือง เทียบแล้วการเดินทางโดยเครื่องบินยังเร็วกว่าเกือบ 1 ชั่วโมง  ดังนั้น คนที่มีมูลค่าเวลาสูง เช่น นักธุรกิจ อาจยังคงเลือกเดินทางโดยเครื่องบินและยอมจ่ายแพงกว่า ในขณะที่ผู้โดยสารที่ไม่เร่งรีบ น่าจะพึ่งรถไฟความเร็วสูงเพราะมีราคาค่าโดยสารถูกกว่าเครื่องบิน นอกจากนี้ ปัญหาเที่ยวบินดีเลย์ เช่น ในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มีอัตราความล่าช้าของเที่ยวบินขาเข้าและขาออก คิดเป็น 26% และ 13% ตามลำดับโดยเฉลี่ย  จะเป็นอีกแรงจูงใจที่ทำให้ผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูงซึ่งตรงต่อเวลามากกว่า ซึ่งอัตราความล่าช้าของรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 1% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขณะที่เที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ตารางเวลารถไฟความเร็วสูงที่มีความเหมาะสม เช่น ความถี่ของขบวน ช่วงเวลาในการออกเดินทางและถึงที่หมาย จะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารเช่นกัน

สินค้าน้ำหนักเบาที่มีมูลค่าสูง และสินค้าเน่าเสียง่าย จะได้ประโยชน์จากการขนส่งทางรถไฟความเร็วสูง ภาคเหนือมีแหล่งผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ซึ่งห่างจากเชียงใหม่เพียง 25 กิโลเมตร มีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีมูลค่าสูง เช่น ชิ้นส่วนจอ Navigator ในรถยนต์ ส่วนประกอบใน Tablet, Smartphone และ GPS รวมทั้ง Sensor ในยานยนต์ และคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หากจัดให้มีพื้นที่ตู้สินค้าในขบวนรถไฟ คาดว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะมีการขนส่งโดยรถไฟความเร็วสูงจากเชียงใหม่ ลงมากรุงเทพฯ เพื่อกระจายต่อไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเหนือปี 2011 มีมูลค่ากว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และช่วงปี 2003-2011 มีการเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี นอกจากนี้ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าเน่าเสียง่ายที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการขนส่ง เช่น ดอกไม้เมืองหนาว สตรอเบอรี่ จะได้รับประโยชน์ด้วย ส่วนการขนส่งจากภาคกลางขึ้นไปภาคเหนือโดยใช้รถไฟความเร็วสูง เพื่อส่งต่อไปยังจีนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยแผงวงจรไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักไปจีนน่าจะได้รับประโยชน์ เพราะมีการเติบโตกว่า 16% ต่อปี ในช่วง 2003-2011 นอกจากนี้ การขนส่งทางราง มีต้นทุนพลังงานที่น้อยกว่าทางถนน และทางอากาศถึง 3.5 และ 55 เท่า ตามลำดับ ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบขนส่งมาเป็นทางรางมากขึ้น จะช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมีแนวโน้มลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่แนวรถไฟความเร็วสูง สร้างโอกาสทางธุรกิจ รถไฟความเร็วสูงสามารถสร้างความเจริญ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมหาศาล  ดังเช่นรถไฟ Shinkansen ของญี่ปุ่น สาย Kyushu ที่วิ่งจาก Hakata – Kagoshima – Chuo หลังจากเริ่มให้บริการตลอดเส้นทางในเดือนมีนาคม 2011 ทำให้มีนักท่องเที่ยวใน Kagoshima เพิ่มขึ้นถึง 24.5% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้มีเงินสะพัดมากถึง 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  นอกจากนี้ ยังเกิดการย้ายถิ่นฐานและแรงงาน เช่น ปรากฏการณ์ Paris-on-Thames ที่คนฝรั่งเศสก่อร่างสร้างตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในกรุง London หลังจากที่มีรถไฟ Eurostar ระหว่าง London – Paris ดังนั้น จังหวัดที่เป็นสถานีหลักของเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่  เช่น อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ การเติบโตมีแนวโน้มสูงมากขึ้นในอนาคต จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ โดยธุรกิจที่มีศักยภาพได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก โลจิสติกส์ รถเช่า โรงแรม และร้านอาหาร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ธุรกิจสายการบินจะโดนผลกระทบมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งการตลาด ปริมาณผู้โดยสารเครื่องบินมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในเส้นทางที่มีรถไฟความเร็วสูงไปถึง โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้ (short haul) ไม่เกิน 800 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ผู้โดยสารมีแนวโน้มจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางระหว่างเครื่องบินและรถไฟความเร็วสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เส้นทาง Madrid-Seville ของเสปน ระยะทาง 540 กิโลเมตร ผู้โดยสารเครื่องบินต่อรถไฟ ก่อนที่จะมีรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางนี้ มีสัดส่วน 71%:29% และเปลี่ยนเป็น 11%:89% หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ เป็นต้น สายการบินต่างๆจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เช่น ลดความถี่ของเที่ยวบิน และลดขนาดเครื่องบินในเส้นทางหลักของยุโรป เช่น London – Paris, London – Brussels, Barcelona – Madrid, Paris – Lyons ส่วนใต้หวัน เส้นทาง Taipei – Kaohsiung จำนวนเที่ยวบินลดลง 50% ภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมีรถไฟความเร็วสูง ในจีน สายการบินต้องลดค่าโดยสารลงถึง 80% ในเส้นทาง Guangzhou - Changsha หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจการบินของจีนจะมีรายได้ลดลง 3-4% หรือ 1.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2012 จากการลดจำนวนเที่ยวบินและค่าโดยสารอันเนื่องมาจากรถไฟความเร็วสูง
 

 นายกฯ สั่งเร่งโครงการไฮสปีดเทรน 4 สายทาง นำร่องสายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561 หลังเยี่ยมชมกิจการรถไฟซินกันเซ็น-รถไฟความเร็วสูงในจีน
 
            วานนี้ (22 เมษายน) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางไปประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ได้เดินทางไปยังศูนย์ควบคุมการจราจร และสถานีรถไฟฮากาตะ เพื่อเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการรถไฟซินคันเซ็น และระบบความปลอดภัย หลังจากที่นายกฯ และคณะได้เดินทางไปดูงานรถไฟความเร็วสูงและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการสถานีรถไฟกรุงปักกิ่ง (หนานจ้าน) สถานีรถไฟเมืองอู่ซิงของจีน เพื่อนำมาศึกษาปรับใช้เป็นแนวทางในโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย
                     
            ทั้งนี้ หลังจากที่นายกฯ กลับจากการเยือนจีนและญี่ปุ่น ได้มีแผนการลงทุนรถไฟความเร็วสูงที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนมากขึ้น โดยในขณะนี้ รัฐบาลได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมปรับแผนการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง จำนวน 4 สายทาง ตามนโยบายของรัฐบาลใหม่อีกรอบ โดยให้ปรับระยะทางการก่อสร้างให้สั้นลง เพื่อให้สามารถผลักดันโครงการที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ให้มีผลงานเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น และให้เป็นจริงมากที่สุดภายใน 4-5 ปีนี้ ตามกรอบระยะเวลาที่รัฐบาลบริหารประเทศ
 
            โดยรายละเอียดแผนและเส้นทาง 4 สายทาง มีดังนี้
 
            1. สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 328 กิโลเมตร เงินลงทุน 121,014 ล้านบาท ปรับลดระยะทางจากเดิม 745 กิโลเมตร เงินลงทุนเดิม 229,809 ล้านบาท 

            2. สายกรุงเทพฯ-พัทยา ระยะทาง 187 กิโลเมตร เงินลงทุน 59,000 ล้านบาท ปรับลดระยะทางจากเดิมเป็นสายกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งระยะทางรวม 221 กิโลเมตร เงินลงทุนเดิม 72,265 ล้านบาท

            3. สายกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 256 กิโลเมตร เงินลงทุน 96,826 ล้านบาท

            4. สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร เงินลงทุน 82,166 ล้านบาท
 
            ทั้งนี้ จาก 4 สายทาง กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการก่อสร้างสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็นลำดับแรก เนื่องจากสายนี้ทางประเทศจีนมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนทั้งก่อสร้างและขายระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งมีประเทศญี่ปุ่นที่แสดงความสนใจจะเข้าลงทุนด้วยเช่นกัน สำหรับความคืบหน้าของโครงการปัจจุบัน อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการให้แล้วเสร็จในปี 2555 และมีแผนจะเปิดประมูลและก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปีครึ่ง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561
 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
 



04 ธันวาคม 2555
 
รัฐบาลเตรียมเปิดประมูลการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เฟสแรก ต้นปีหน้า คาดเปิดใช้บริการปี 2561  
 
โครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม 4.81 แสนล้านบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปีพ.ศ. 2556-2563 มูลค่า 2 ล้านล้านบาท จะประกอบไปด้วยสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตรค่าโดยสาร 410 บาท สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 360 บาท สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 1,190 บาท และสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 220 กม. ค่าโดยสาร 350 บาท โดยทั้ง 4 สายจะสร้างคู่ขนานไปกับเส้นทางเดินรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน 
 
จากรายงานของหนังสือพิมพ์หัวหินทูเดย์ ระบุว่าการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีอัตราความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ได้กว่า 50% โดยผู้ที่เดินทางไปยังเชียงใหม่จะสามารถไปถึงได้ภายใน 3.44 ชั่วโมง ในขณะที่การเดินทางไปยังหัวหินจะใช้เวลาเพียง 1.09 ชั่วโมง ระยองใช้เวลาเพียง 1 ชม. และสามารถเดินทางไปถึงโคราชได้ภายใน 1.35 ชม.
 
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านโยบายเศรษฐกิจเผยว่าหลังจากที่ผ่านการประเมินด้านผลกระทบและสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้น รัฐบาลจะเปิดให้มีการประมูลในช่วงต้นปีหน้า โดยขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มเจรจากับบริษัทผู้ประมูลจากต่างประเทศ ได้แก่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีนและฝรั่งเศส
 
ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารถไฟความเร็วสูงจะช่วยในเรื่องของการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าน้ำหนักเบาที่มีมูลค่าสูง และสินค้าเน่าเสียง่าย ไปยังประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนและประเทศจีนตอนใต้ โดยคาดว่าการขนส่งสินค้าทางรถไฟจะเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 80% ในระยะเวลา 6 ปี และจะช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งต่อปีได้ถึง 35% 
 
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) มองว่า แม้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะเอื้อประโยชน์ในทางธุรกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่แนวรถไฟต่างๆ แต่ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากคือธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้ (short haul) ไม่เกิน 800 กิโลเมตร ที่ผู้โดยสารมีแนวโน้มจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากเครื่องบินไปเป็นรถไฟความเร็วสูงนั่นเอง  


5 โครงการรถไฟความเร็วสูง

 

กระทรวงคมนาคมเตรียมเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย  กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี,กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย  กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ไทยรัฐออนไลน์จะพาไปรู้จักกับ เทคโนโลยี รถไฟความเร็วสูงที่โลกนี้มีใช้กัน

หลังจาก พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  เป็นประธานสรุป กรอบการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษาที่บริษัทที่ปรึกษา จัดทำไว้เข้ามาพิจารณารายละเอียดเพื่อกำหนดกรอบหลายประเด็น  หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยใช้รางขนาด  1.435  เมตร  หรือสแตนดาร์ดเกจจะมี การปรับปรุงจากรางเดิม ซึ่งเป็นรางขนาด  1  เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนา รางที่ 3 เป็นแบบสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง 

ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามแผนที่กระทรวงคมนาคม ให้นโยบายไว้
จะมีการเร่งรัดทำทันที  5  เส้นทาง  ประกอบด้วย  กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี  กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย  กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง  ขณะที่เส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันที คือกรุงเทพฯ- นครราชสีมา โดยรูปแบบการลงทุนนั้น  เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมในการเดินรถ ซึ่งจะมีพูดคุยอีกครั้งว่าจะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนเดินรถ หรือสัมปทานเดินรถ

ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น  ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่จะกำหนดอัตราดังกล่าวหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐก่อสร้างรางเองก็จะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ  800-1,000 ล้านบาท

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก

สายเหนือ: 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครสวรรค์ (หนองปลิง)
เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-พิษณุโลก
เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที
ค่าโดยสาร 845 บาท


กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที
ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที
ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาทีี
ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาทีี
ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที
ค่าโดยสาร 912 บาท

สายใต้: 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาทีี
ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-แม่กลอง-หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที
ค่าโดยสาร 295 บาท 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที
ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที
ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที
ค่าโดยสาร 1,571 บาท

สายตะวันออก: 
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-บางปะกง-ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาทีี ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที ค่าโดยสาร 400 บาท
 

Tuesday 6 November 2012

World peace?under base local of this world...














updated 7 hours, 20 minutes ago

Tweeted your ballot? You may have broken the law CNNMoney.com

We live our lives online now, tweeting our thoughts and uploading Facebook photos everywhere we go. But if you snapped a quick picture of your ballot this Election Day, you may have broken a state law. FULL STORY
Julianne Pepitone
Filed under: Tech Biz
787
updated 8 hours, 13 minutes ago

'It's a little bit like Yelp, for democracy'

In Florida, some early-voting lines were longer than those for the new iPhone. In New Jersey, officials are allowing those displaced by Superstorm Sandy to vote via e-mail and fax. And a bitterly partisan presidential election is expected to be close. FULL STORY
John D. Sutter
By John D. Sutter, CNN
Filed under: Innovation
732
updated 10 hours, 55 minutes ago

Amazon testing $8 per month price for Prime streaming CNNMoney.com

It's no secret that Amazon's main streaming video competitors are Netflix and Hulu Plus. A new pricing setup pits the retailer even more squarely against its rivals.FULL STORY
Julianne Pepitone
Filed under: Tech Biz
60
updated 12 hours, 37 minutes ago

Google co-founder Sergey Brin: "I am dreading today's elections" CNNMoney.com

Tens of millions of Americans lined up to vote Tuesday morning, but at least one person wasn't excited about it: Google co-founder Sergey Brin, who said he's "dreading" the elections. FULL STORY
Julianne Pepitone
Filed under: Tech Biz
578
updated 12 hours, 42 minutes ago

Why you can't vote online yet  CNNMoney.com

Online voting is taking off in local elections, particularly overseas. But Americans shouldn't expect to vote for the president on their laptop or iPad anytime soon. FULL STORY
Julianne Pepitone
Filed under: Tech Biz
1079
updated 1 day ago