Tuesday 4 December 2012

Speed up by rail...way


http://www.fleth.co.th/index.php/en/news/528-528


รถไฟความเร็วสูง ของประเทศไทย

E-mailPrintPDF
ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ
หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม
ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ
หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม
ล่าสุดทางดร. จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานย่อย
เพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทยเปิดเผยว่า ทาง
ประเทศจีนขอใช้สัญญาสัมปทานจำนวน 50 ปี ซึ่งขัดกับข้อกฎหมายไทยที่กำหนดให้สัมปทานสูงสุด
เพียง 30 ปีเท่านั้น รวมทั้งต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนด้วยว่าจะใช้รูปแบบใด
สัดส่วนการลงทุนจะเป็น 50% หรือ 51 ต่อ 49% หรือไม่ เพราะโครงการดังกล่าวไม่ใช่แค่เดินรถ
ระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการเดินทางภายในประเทศด้วย   ทั้งนี้จะได้ร่างเอ็มโอยูใหม่
ในปลายปีนี้ก่อนที่จะหาข้อสรุปในต้นปี 2554 ก่อนสรุปรายละเอียดก่อนจัดทำเอ็มโอยูฉบับสมบูรณ์
เสนอไปยังที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจึงมีการลงนามกับจีนต่อไป
 

ขณะที่ช่วงต้นปีหน้าเหมือนกันที่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จะส่งผลรายงาน
สรุปหลังจากทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน ( Market Sounding) ในโครงการรถไฟฟ้า
ความเร็วสูง 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร
และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 754 กิโลเมตร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทาง
การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ชุดที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธานภายในเดือนธันวาคมนี้เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือนมกราคม 2554
ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มากกว่า
เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เนื่องจากมองว่าเส้นระยองมีระยะทางสั้นเกินไป โดยเฉพาะนักลงทุน
จากญี่ปุ่น   ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะประเทศจีนให้ความสนใจลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
ตอนนี้พูดง่าย ๆ คือรถไฟความเร็วสูงใช้ไทยเป็นเวทีต่อรอง และคานอำนาจทางเศรษฐกิจไปเสียแล้ว
ระหว่าง จีน และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามทาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก
สายเหนือ:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท
สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท
สายใต้:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - แม่กลอง - หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท    
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท
สายตะวันออก:  
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - บางปะกง - ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท    
ถ้าราคาเป็นอย่างนี้จริงผมคิดว่าในอนาคตสายการบินโลว์คอสต์อาจจะต้องกระอัก เพราะราคาน่าสนเฉพาะ
เส้นทางเชียงใหม่ 4 ชั่วโมงราคาพันนิด ๆ   ตอนนี้ก็อยากให้เกิดขึ้นดีกว่า และสายการบินในไทยจะต้อง
ปรับตัวครั้งใหญ่อีกระลอก แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่าต้องกำกับตรวจสอบโครงการอย่างเข้มงวดเพราะวงเงินสูง
เหลือเกินตัดเปอร์เซนต์ 20-30% ก็ไม่เบาเหมือนกันครับ!



รถไฟความเร็วสูง ใครได้ ใครเสีย? : SCB EIC

พิมพ์



ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC ออกบทวิเคราะห์   รถไฟความเร็วสูง ใครได้ ใครเสีย? ระบุว่า
ภายใต้กรอบแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปี 2013-2020 มูลค่า 2 ล้านล้านบาท โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สาย มีมูลค่าการลงทุนรวมสูงที่สุดถึง 4.81 แสนล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สายเร่งรัดที่รัฐประกาศว่าจะเริ่มเปิดใช้บริการประมาณปี 2018 ระยะทาง 745 กิโลเมตร รถไฟวิ่งด้วยความเร็ว 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง สู่ใจกลางเมือง ประมาณราคาค่าโดยสารไว้ที่ 1,200 บาทต่อเที่ยว ใครมีแนวโน้มได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ จากรถไฟความเร็วสูงสายนี้บ้าง?

ราคาค่าโดยสาร 1,200 บาทต่อเที่ยว ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ค่าโดยสาร 1,200 บาท หรือ 1.6 บาท/กิโลเมตร เป็นราคาที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่มีรถไฟความเร็วสูงให้บริการแล้ว เช่น จีน มีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.2 บาท/กิโลเมตร ส่วนญี่ปุ่น มีราคาแพงที่สุด เฉลี่ย 9.5 บาท/กิโลเมตร ในขณะที่ เกาหลี และไต้หวัน ค่าโดยสารเฉลี่ย 3.4 และ 5 บาท/กิโลเมตร ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างของราคา ขึ้นอยู่กับระดับค่าครองชีพและการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ 1,200 บาทต่อเที่ยว ไว้เบื้องต้น ซึ่งเมื่อโครงการเป็นรูปธรรมมากขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า ค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นกับค่าครองชีพในขณะนั้น และนโยบายของภาครัฐ ที่อาจยอมแบกรับภาระต้นทุนค่าโดยสาร โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในด้านอื่นมากกว่า เช่น การเติบโตของพื้นที่ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ถึงผู้ได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ ในส่วนต่อจากนี้ จะใช้สมมติฐานของราคาค่าโดยสาร 1,200 บาท เป็นหลัก

ผู้โดยสารบางส่วนจากการเดินทางทางรถไฟ และถนน มีแนวโน้มหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง เพราะได้ประโยชน์จากการประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้โดยสารเดิมที่เดินทางโดยรถไฟแบบด่วนพิเศษ รถโดยสารปรับอากาศชนิด VIP หรือ 1st Class และรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งการเดินทางที่ใช้เวลาสั้นลงจะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาส จากการใช้เวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่สร้างรายได้หรือให้ประโยชน์สูงกว่า ทั้งนี้ รถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แบบด่วนพิเศษ ใช้เวลาในการเดินทางสูงถึง 12 ชั่วโมง ค่าตั๋วโดยสารตู้นอนปรับอากาศชั้น 1 และ 2 มีราคา 800 - 1,450 บาทต่อเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงที่ 1,200 บาท ผู้โดยสารรถไฟด่วนพิเศษน่าจะยอมจ่ายแพงกว่าเล็กน้อย เพื่อให้สามารถเดินทางได้รวดเร็วขึ้นจาก 12 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนผู้ที่เคยจ่ายตู้นอนปรับอากาศที่มีราคาสูงถึง 1,450 บาท คงเปลี่ยนไปนั่งรถไฟความเร็วสูงอย่างแน่นอน ยกเว้นผู้ที่ต้องการนอนในรถไฟเพื่อประหยัดค่าที่พัก

เช่นเดียวกับผู้โดยสารรถปรับอากาศชนิด VIP ซึ่งมีราคาค่าโดยสาร 876 บาท ใช้เวลาเดินทาง 9 ชั่วโมงครึ่ง หากเปลี่ยนมาใช้รถไฟความเร็วสูงจะต้องจ่ายค่าโดยสารที่แพงขึ้น แต่สามารถประหยัดเวลาในการเดินทางได้ถึง 6 ชั่วโมง ส่วนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ปกติจะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง คาดว่าผู้โดยสารส่วนหนึ่งจะหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพราะประหยัดเวลา และน้ำมัน ซึ่งการลดจำนวนรถโดยสารและรถยนต์ในท้องถนน จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร และลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ อุบัติเหตุทางถนนบริเวณพื้นที่เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ไม่รวมอุบัติเหตุในกรุงเทพฯ) ปี 2011 เกิดขึ้นราว 1 หมื่นครั้ง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเกือบ 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการเดินทางทางถนนที่ลดลงยังช่วยลดปัญหามลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะรถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่ารถยนต์ถึง 10 เท่า

ผู้โดยสารเครื่องบินส่วนหนึ่งจะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง จากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ด้วยระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ปัจจุบัน ตั๋วเครื่องบินเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีราคาประมาณ 2,500 บาทต่อเที่ยว สายการบิน Low cost ราคา 1,650 - 2,000 บาทต่อเที่ยว ใช้ระยะเวลาบิน 1 ชั่วโมง 15 นาที หากรวมเวลาที่ต้องไปสนามบินก่อน 1 ชั่วโมง และเวลาเดินทางจากสนามบินเข้าตัวเมือง เทียบแล้วการเดินทางโดยเครื่องบินยังเร็วกว่าเกือบ 1 ชั่วโมง  ดังนั้น คนที่มีมูลค่าเวลาสูง เช่น นักธุรกิจ อาจยังคงเลือกเดินทางโดยเครื่องบินและยอมจ่ายแพงกว่า ในขณะที่ผู้โดยสารที่ไม่เร่งรีบ น่าจะพึ่งรถไฟความเร็วสูงเพราะมีราคาค่าโดยสารถูกกว่าเครื่องบิน นอกจากนี้ ปัญหาเที่ยวบินดีเลย์ เช่น ในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มีอัตราความล่าช้าของเที่ยวบินขาเข้าและขาออก คิดเป็น 26% และ 13% ตามลำดับโดยเฉลี่ย  จะเป็นอีกแรงจูงใจที่ทำให้ผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูงซึ่งตรงต่อเวลามากกว่า ซึ่งอัตราความล่าช้าของรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 1% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขณะที่เที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ตารางเวลารถไฟความเร็วสูงที่มีความเหมาะสม เช่น ความถี่ของขบวน ช่วงเวลาในการออกเดินทางและถึงที่หมาย จะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารเช่นกัน

สินค้าน้ำหนักเบาที่มีมูลค่าสูง และสินค้าเน่าเสียง่าย จะได้ประโยชน์จากการขนส่งทางรถไฟความเร็วสูง ภาคเหนือมีแหล่งผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ซึ่งห่างจากเชียงใหม่เพียง 25 กิโลเมตร มีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีมูลค่าสูง เช่น ชิ้นส่วนจอ Navigator ในรถยนต์ ส่วนประกอบใน Tablet, Smartphone และ GPS รวมทั้ง Sensor ในยานยนต์ และคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หากจัดให้มีพื้นที่ตู้สินค้าในขบวนรถไฟ คาดว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะมีการขนส่งโดยรถไฟความเร็วสูงจากเชียงใหม่ ลงมากรุงเทพฯ เพื่อกระจายต่อไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเหนือปี 2011 มีมูลค่ากว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และช่วงปี 2003-2011 มีการเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี นอกจากนี้ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าเน่าเสียง่ายที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการขนส่ง เช่น ดอกไม้เมืองหนาว สตรอเบอรี่ จะได้รับประโยชน์ด้วย ส่วนการขนส่งจากภาคกลางขึ้นไปภาคเหนือโดยใช้รถไฟความเร็วสูง เพื่อส่งต่อไปยังจีนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยแผงวงจรไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักไปจีนน่าจะได้รับประโยชน์ เพราะมีการเติบโตกว่า 16% ต่อปี ในช่วง 2003-2011 นอกจากนี้ การขนส่งทางราง มีต้นทุนพลังงานที่น้อยกว่าทางถนน และทางอากาศถึง 3.5 และ 55 เท่า ตามลำดับ ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบขนส่งมาเป็นทางรางมากขึ้น จะช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมีแนวโน้มลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่แนวรถไฟความเร็วสูง สร้างโอกาสทางธุรกิจ รถไฟความเร็วสูงสามารถสร้างความเจริญ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมหาศาล  ดังเช่นรถไฟ Shinkansen ของญี่ปุ่น สาย Kyushu ที่วิ่งจาก Hakata – Kagoshima – Chuo หลังจากเริ่มให้บริการตลอดเส้นทางในเดือนมีนาคม 2011 ทำให้มีนักท่องเที่ยวใน Kagoshima เพิ่มขึ้นถึง 24.5% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้มีเงินสะพัดมากถึง 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  นอกจากนี้ ยังเกิดการย้ายถิ่นฐานและแรงงาน เช่น ปรากฏการณ์ Paris-on-Thames ที่คนฝรั่งเศสก่อร่างสร้างตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในกรุง London หลังจากที่มีรถไฟ Eurostar ระหว่าง London – Paris ดังนั้น จังหวัดที่เป็นสถานีหลักของเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่  เช่น อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ การเติบโตมีแนวโน้มสูงมากขึ้นในอนาคต จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ โดยธุรกิจที่มีศักยภาพได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก โลจิสติกส์ รถเช่า โรงแรม และร้านอาหาร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ธุรกิจสายการบินจะโดนผลกระทบมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งการตลาด ปริมาณผู้โดยสารเครื่องบินมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในเส้นทางที่มีรถไฟความเร็วสูงไปถึง โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้ (short haul) ไม่เกิน 800 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ผู้โดยสารมีแนวโน้มจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางระหว่างเครื่องบินและรถไฟความเร็วสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เส้นทาง Madrid-Seville ของเสปน ระยะทาง 540 กิโลเมตร ผู้โดยสารเครื่องบินต่อรถไฟ ก่อนที่จะมีรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางนี้ มีสัดส่วน 71%:29% และเปลี่ยนเป็น 11%:89% หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ เป็นต้น สายการบินต่างๆจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เช่น ลดความถี่ของเที่ยวบิน และลดขนาดเครื่องบินในเส้นทางหลักของยุโรป เช่น London – Paris, London – Brussels, Barcelona – Madrid, Paris – Lyons ส่วนใต้หวัน เส้นทาง Taipei – Kaohsiung จำนวนเที่ยวบินลดลง 50% ภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมีรถไฟความเร็วสูง ในจีน สายการบินต้องลดค่าโดยสารลงถึง 80% ในเส้นทาง Guangzhou - Changsha หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจการบินของจีนจะมีรายได้ลดลง 3-4% หรือ 1.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2012 จากการลดจำนวนเที่ยวบินและค่าโดยสารอันเนื่องมาจากรถไฟความเร็วสูง
 

 นายกฯ สั่งเร่งโครงการไฮสปีดเทรน 4 สายทาง นำร่องสายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561 หลังเยี่ยมชมกิจการรถไฟซินกันเซ็น-รถไฟความเร็วสูงในจีน
 
            วานนี้ (22 เมษายน) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางไปประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ได้เดินทางไปยังศูนย์ควบคุมการจราจร และสถานีรถไฟฮากาตะ เพื่อเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการรถไฟซินคันเซ็น และระบบความปลอดภัย หลังจากที่นายกฯ และคณะได้เดินทางไปดูงานรถไฟความเร็วสูงและเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการสถานีรถไฟกรุงปักกิ่ง (หนานจ้าน) สถานีรถไฟเมืองอู่ซิงของจีน เพื่อนำมาศึกษาปรับใช้เป็นแนวทางในโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย
                     
            ทั้งนี้ หลังจากที่นายกฯ กลับจากการเยือนจีนและญี่ปุ่น ได้มีแผนการลงทุนรถไฟความเร็วสูงที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนมากขึ้น โดยในขณะนี้ รัฐบาลได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมปรับแผนการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง จำนวน 4 สายทาง ตามนโยบายของรัฐบาลใหม่อีกรอบ โดยให้ปรับระยะทางการก่อสร้างให้สั้นลง เพื่อให้สามารถผลักดันโครงการที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ให้มีผลงานเกิดเป็นรูปธรรมได้เร็วขึ้น และให้เป็นจริงมากที่สุดภายใน 4-5 ปีนี้ ตามกรอบระยะเวลาที่รัฐบาลบริหารประเทศ
 
            โดยรายละเอียดแผนและเส้นทาง 4 สายทาง มีดังนี้
 
            1. สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 328 กิโลเมตร เงินลงทุน 121,014 ล้านบาท ปรับลดระยะทางจากเดิม 745 กิโลเมตร เงินลงทุนเดิม 229,809 ล้านบาท 

            2. สายกรุงเทพฯ-พัทยา ระยะทาง 187 กิโลเมตร เงินลงทุน 59,000 ล้านบาท ปรับลดระยะทางจากเดิมเป็นสายกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งระยะทางรวม 221 กิโลเมตร เงินลงทุนเดิม 72,265 ล้านบาท

            3. สายกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 256 กิโลเมตร เงินลงทุน 96,826 ล้านบาท

            4. สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร เงินลงทุน 82,166 ล้านบาท
 
            ทั้งนี้ จาก 4 สายทาง กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการก่อสร้างสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็นลำดับแรก เนื่องจากสายนี้ทางประเทศจีนมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนทั้งก่อสร้างและขายระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งมีประเทศญี่ปุ่นที่แสดงความสนใจจะเข้าลงทุนด้วยเช่นกัน สำหรับความคืบหน้าของโครงการปัจจุบัน อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการให้แล้วเสร็จในปี 2555 และมีแผนจะเปิดประมูลและก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปีครึ่ง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561
 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
 



04 ธันวาคม 2555
 
รัฐบาลเตรียมเปิดประมูลการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เฟสแรก ต้นปีหน้า คาดเปิดใช้บริการปี 2561  
 
โครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม 4.81 แสนล้านบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปีพ.ศ. 2556-2563 มูลค่า 2 ล้านล้านบาท จะประกอบไปด้วยสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตรค่าโดยสาร 410 บาท สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 360 บาท สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 1,190 บาท และสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 220 กม. ค่าโดยสาร 350 บาท โดยทั้ง 4 สายจะสร้างคู่ขนานไปกับเส้นทางเดินรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน 
 
จากรายงานของหนังสือพิมพ์หัวหินทูเดย์ ระบุว่าการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีอัตราความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆ ได้กว่า 50% โดยผู้ที่เดินทางไปยังเชียงใหม่จะสามารถไปถึงได้ภายใน 3.44 ชั่วโมง ในขณะที่การเดินทางไปยังหัวหินจะใช้เวลาเพียง 1.09 ชั่วโมง ระยองใช้เวลาเพียง 1 ชม. และสามารถเดินทางไปถึงโคราชได้ภายใน 1.35 ชม.
 
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านโยบายเศรษฐกิจเผยว่าหลังจากที่ผ่านการประเมินด้านผลกระทบและสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้น รัฐบาลจะเปิดให้มีการประมูลในช่วงต้นปีหน้า โดยขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มเจรจากับบริษัทผู้ประมูลจากต่างประเทศ ได้แก่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีนและฝรั่งเศส
 
ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารถไฟความเร็วสูงจะช่วยในเรื่องของการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าน้ำหนักเบาที่มีมูลค่าสูง และสินค้าเน่าเสียง่าย ไปยังประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนและประเทศจีนตอนใต้ โดยคาดว่าการขนส่งสินค้าทางรถไฟจะเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 80% ในระยะเวลา 6 ปี และจะช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งต่อปีได้ถึง 35% 
 
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) มองว่า แม้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะเอื้อประโยชน์ในทางธุรกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่แนวรถไฟต่างๆ แต่ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากคือธุรกิจสายการบิน โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้ (short haul) ไม่เกิน 800 กิโลเมตร ที่ผู้โดยสารมีแนวโน้มจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากเครื่องบินไปเป็นรถไฟความเร็วสูงนั่นเอง  


5 โครงการรถไฟความเร็วสูง

 

กระทรวงคมนาคมเตรียมเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย  กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี,กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย  กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ไทยรัฐออนไลน์จะพาไปรู้จักกับ เทคโนโลยี รถไฟความเร็วสูงที่โลกนี้มีใช้กัน

หลังจาก พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  เป็นประธานสรุป กรอบการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษาที่บริษัทที่ปรึกษา จัดทำไว้เข้ามาพิจารณารายละเอียดเพื่อกำหนดกรอบหลายประเด็น  หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยใช้รางขนาด  1.435  เมตร  หรือสแตนดาร์ดเกจจะมี การปรับปรุงจากรางเดิม ซึ่งเป็นรางขนาด  1  เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนา รางที่ 3 เป็นแบบสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง 

ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามแผนที่กระทรวงคมนาคม ให้นโยบายไว้
จะมีการเร่งรัดทำทันที  5  เส้นทาง  ประกอบด้วย  กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี  กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย  กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง  ขณะที่เส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันที คือกรุงเทพฯ- นครราชสีมา โดยรูปแบบการลงทุนนั้น  เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมในการเดินรถ ซึ่งจะมีพูดคุยอีกครั้งว่าจะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนเดินรถ หรือสัมปทานเดินรถ

ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น  ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่จะกำหนดอัตราดังกล่าวหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐก่อสร้างรางเองก็จะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ  800-1,000 ล้านบาท

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก

สายเหนือ: 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครสวรรค์ (หนองปลิง)
เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-พิษณุโลก
เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที
ค่าโดยสาร 845 บาท


กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที
ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที
ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาทีี
ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาทีี
ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที
ค่าโดยสาร 912 บาท

สายใต้: 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาทีี
ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-แม่กลอง-หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที
ค่าโดยสาร 295 บาท 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที
ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที
ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที
ค่าโดยสาร 1,571 บาท

สายตะวันออก: 
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-บางปะกง-ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาทีี ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที ค่าโดยสาร 400 บาท
 

No comments:

Post a Comment