ด้านเศรษฐกิจ
ไทยและบาห์เรนร่วมจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหาร การค้าและการลงทุนสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล โดยรัฐบาลทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งคลังสำรองอาหารและศูนย์กระจายสินค้าไทยในบาห์เรนขึ้น เพื่อใช้บาห์เรนเป็นฐานกระจายสินค้าไทยไปยังผู้บริโภคในอ่าวอาหรับตอนบน เช่น ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และจอร์แดน ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีซ้อน การบันทึกความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว บันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือและวัฒนธรรม และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ไทยและบาห์เรนร่วมจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหาร การค้าและการลงทุนสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล โดยรัฐบาลทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งคลังสำรองอาหารและศูนย์กระจายสินค้าไทยในบาห์เรนขึ้น เพื่อใช้บาห์เรนเป็นฐานกระจายสินค้าไทยไปยังผู้บริโภคในอ่าวอาหรับตอนบน เช่น ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และจอร์แดน ความตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีซ้อน การบันทึกความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว บันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือและวัฒนธรรม และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดบาห์เรน
- อาหารและสินค้าเกษตร
เช่น ข้าว ไก่ น้ำตาล เนื่องจากบาห์เรนมีพื้นที่เป็นทะเลทรายแทบจะไม่มีผลิตผลด้านการเกษตร
- ข้าว ประมาณ 60,200 ตันต่อปี (ต้องแย่งตลาดกับข้าวบาสมาติและข้าวหอมมะลิจากเวียดนาม)
- ไก่สดและไก่แช่แข็ง(มีการบริโภคประมาณ 120,000 ตัวต่อวัน)
- เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นและชิ้นส่วน เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและไทยเรามีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่ามาก
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- ทองแดง
- อัญมณีและเครื่องประดับ
- เฟอร์นิเจอร์
- การท่องเที่ยวและการบริการด้านสุขภาพ เนื่องจากชาวบาห์เรนรู้จักและชื่นชอบคนไทยและประเทศไทยเป็นอย่างมาก
- ปี 2556 คนบาห์เรนไปเที่ยวประเทศไทยมากกว่า 30,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมาก ขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รวมทั้งคนต่างชาติในบาห์เรนก็นิยมไปเที่ยวประเทศไทย
- การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยควรร่วมมือกับบริษัททัวร์ท้องถิ่น เนื่องจากคนบาห์เรนยัง ไม่นิยมจองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม หรือแพ็กเกจทัวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตมากนัก
- คนบาห์เรนนิยมไปรักษาพยาบาลที่ประเทศไทยมากขึ้น
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ เนื่องจากบาห์เรนมีอัตราส่วนรถยนต์ต่อประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก (517 คัน ต่อประชากร 1000 คน)
- อะไหล่ แบตเตอรี่ ยางรถยนต์
- แฟรนไชส์ / สินค้าการดูแลรถยนต์ (คาร์แคร์)
- การประมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐ
- บาห์เรนมีแผนเร่งสร้างและปรับปรุงโครงสร้างสาธารณูปโภค โดยใช้เงินช่วยเหลือ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของ GCC เช่น โครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การสร้างถนน สะพานและอุโมงค์
- เครื่องสำอาง
เนื่องจากคนบาห์เรนทั้งชายและหญิงมีนิสัยรักสวยรักงาม อย่างไรก็ดีต้องแข่งขันกับเครื่องสำอางแบรนด์เนมของตะวันตก
- ธุรกิจบริการ
เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านตัดเสื้อ ช่างสีและช่างซ่อมรถยนต์ สปา และนวดแผนไทย
ทั้งนี้ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากบาห์เรน ได้แก่ สินแร่โลหะ น้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า
สถิติการส่งออกสินค้าของไทย-บาห์เรน ภาพรวมของการส่งออกทั้งหมดของไทยสู่ตลาดโลก พบว่าปี 2556 บาห์เรนจัดอยู่อันดับที่ 68 คิดเป็นมูลค่า 6,667 ล้านบาทซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 แม้ว่าจะเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อย แต่การเปิดตลาดประเทศบาห์เรนจะเป็นประตูการค้าด่านแรกที่จะต่อยอดเข้าไปในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งจัดเป็นคู่ค้าลำดับที่ 21 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คู่ค้าลำดับที่ 20 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 และกาตาร์ คู่ค้าลำดับที่ 55 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.17
- อาหารและสินค้าเกษตร
เช่น ข้าว ไก่ น้ำตาล เนื่องจากบาห์เรนมีพื้นที่เป็นทะเลทรายแทบจะไม่มีผลิตผลด้านการเกษตร- ข้าว ประมาณ 60,200 ตันต่อปี (ต้องแย่งตลาดกับข้าวบาสมาติและข้าวหอมมะลิจากเวียดนาม)
- ไก่สดและไก่แช่แข็ง(มีการบริโภคประมาณ 120,000 ตัวต่อวัน)
- เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นและชิ้นส่วน เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและไทยเรามีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่ามาก
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- ทองแดง
- อัญมณีและเครื่องประดับ
- เฟอร์นิเจอร์
- การท่องเที่ยวและการบริการด้านสุขภาพ เนื่องจากชาวบาห์เรนรู้จักและชื่นชอบคนไทยและประเทศไทยเป็นอย่างมาก
- ปี 2556 คนบาห์เรนไปเที่ยวประเทศไทยมากกว่า 30,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมาก ขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รวมทั้งคนต่างชาติในบาห์เรนก็นิยมไปเที่ยวประเทศไทย
- การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยควรร่วมมือกับบริษัททัวร์ท้องถิ่น เนื่องจากคนบาห์เรนยัง ไม่นิยมจองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม หรือแพ็กเกจทัวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตมากนัก
- คนบาห์เรนนิยมไปรักษาพยาบาลที่ประเทศไทยมากขึ้น
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ เนื่องจากบาห์เรนมีอัตราส่วนรถยนต์ต่อประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก (517 คัน ต่อประชากร 1000 คน)
- อะไหล่ แบตเตอรี่ ยางรถยนต์
- แฟรนไชส์ / สินค้าการดูแลรถยนต์ (คาร์แคร์)
- การประมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐ
- บาห์เรนมีแผนเร่งสร้างและปรับปรุงโครงสร้างสาธารณูปโภค โดยใช้เงินช่วยเหลือ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของ GCC เช่น โครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การสร้างถนน สะพานและอุโมงค์
- เครื่องสำอาง
เนื่องจากคนบาห์เรนทั้งชายและหญิงมีนิสัยรักสวยรักงาม อย่างไรก็ดีต้องแข่งขันกับเครื่องสำอางแบรนด์เนมของตะวันตก - ธุรกิจบริการ
เช่น ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านตัดเสื้อ ช่างสีและช่างซ่อมรถยนต์ สปา และนวดแผนไทย
ทั้งนี้ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากบาห์เรน ได้แก่ สินแร่โลหะ น้ำมันสำเร็จรูป ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า
สถิติการส่งออกสินค้าของไทย-บาห์เรน ภาพรวมของการส่งออกทั้งหมดของไทยสู่ตลาดโลก พบว่าปี 2556 บาห์เรนจัดอยู่อันดับที่ 68 คิดเป็นมูลค่า 6,667 ล้านบาทซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 แม้ว่าจะเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อย แต่การเปิดตลาดประเทศบาห์เรนจะเป็นประตูการค้าด่านแรกที่จะต่อยอดเข้าไปในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งจัดเป็นคู่ค้าลำดับที่ 21 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คู่ค้าลำดับที่ 20 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.3 และกาตาร์ คู่ค้าลำดับที่ 55 ของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.17
ความตกลงที่ลงนามแล้ว และมีผลใช้บังคับแล้ว
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน
- ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการ
- ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ ฉบับ ปี 2523
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเชิงพาณิชย์
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งกองเงินลงทุนในประเทศไทย
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์กลางการค้าและการกระจายสินค้าในบาห์เรน
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมบาห์เรน
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและบาห์เรน
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้า
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซ
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
- ความตกลงจัดตั้งสภาธุรกิจร่วมไทย-บาห์เรน
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยและคลังสำรองอาหารในบาห์เรน
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ความตกลงที่อยู่ระหว่างการเจรจา
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร
- พิธีสารความร่วมมือระหว่างสภาผู้แทนราษฎร (Protocol on Cooperation)
- พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน
http://www.thaibizbahrain.com/bh/about/relations.php
กิจกรรม สอท. : นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน
นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน
นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน ผลักดันกลไกความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ หารือข้อราชการกับ เจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน ในโอกาสเสด็จเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล ในระหว่างการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2 ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณที่นายกรัฐมนตรีบาห์เรนตอบรับคำเชิญเสด็จฯ เยือนประเทศไทย พร้อมย้ำความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยทั้งสองประเทศจะครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตในปีหน้า ด้านนายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งการจัดประชุมแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนานาประเทศที่มีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ทรงชื่นชมแนวทางการบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรี และทรงยินดีให้การสนับสนุนบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่าย ยังมุ่งผลักดันกลไกความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนายกรัฐมนตรีบาห์เรนทรงยินดีในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทวิภาคีระดับสูง ระหว่างไทยกับบาห์เรน ครั้งที่ 3 ในปีหน้า ทั้งยังเห็นพ้องที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ด้วยการส่งเสริมการติดต่อระหว่างภาคเอกชนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้า ซึ่งไทยกำลังดำเนินการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยในบาห์เรน รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ไทยมีศักยภาพ
นายกรัฐมนตรี แสดงความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ ที่นายกรัฐมนตรีบาห์เรนประทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่นักศึกษาไทย รวมถึงการดูแลชาวไทยในบาห์เรน ทั้งยังแสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีบาห์เรน ที่ทรงให้การสนับสนุนไทยใน OIC มาโดยตลอด
http://www.thaiembassy.org/manama/th/activities/2251/70983-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AF-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3.html
http://www.mfa.go.th/main/th/media-center/28/30037-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89.html
ข่าวเด่น : การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน ครั้งที่ ๒
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับ เชค คาหลิด บิน อาเหม็ด บิน โมฮัมเหม็ด อัล คอลิฟะห์ (Shaikh Khalid bin Ahmed bin Mohamed Al Khalifa) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบาห์เรน ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – บาห์เรน ครั้งที่ ๒ ที่กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมครั้งนี้เน้นการติดตามผลการเยือนบาห์เรนของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งได้มีการลงนามความตกลง ๓ ฉบับ คือ (๑) ด้านความมั่นคงทางอาหาร (๒) ด้านวัฒนธรรม และ (๓) ด้านการท่องเที่ยว
ไทยได้เสนอให้ฝ่ายบาห์เรนซื้อสินค้าที่ไทยมีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของบาห์เรน อาทิ ข้าว น้ำตาล ไก่แช่แข็ง อาหารกระป๋องและวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดประชุม Joint Steering Committee ด้านความมั่นคงอาหาร เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป อีกทั้ง ไทยได้เสนอให้มีการตั้งไซโล (silo) ในประเทศไทยเพื่อเป็นคลังอาหารสำหรับบาห์เรน รวมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยที่บาห์เรนด้วย
สำหรับความร่วมมือด้านการเงินการธนาคาร ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะมีความร่วมมือด้านการฝึกอบรม เพื่อเสริมศักยภาพของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายบาห์เรนยินดีให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการลงทุนในตลาดทุนของไทย โดยจะจัดคณะนักลงทุนเดินทางมายังประเทศไทย
สำหรับความร่วมมือด้านการเกษตรและการศึกษา บาห์เรนประสงค์เรียนรู้ประสบการณ์ของไทยเพื่อช่วยเสริมการพัฒนาประเทศและลดการพึ่งพารายได้จากพลังงาน ซึ่งไทยยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ความร่วมมือในกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue – ACD) และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
การประชุมครั้งนี้เน้นการติดตามผลการเยือนบาห์เรนของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ซึ่งได้มีการลงนามความตกลง ๓ ฉบับ คือ (๑) ด้านความมั่นคงทางอาหาร (๒) ด้านวัฒนธรรม และ (๓) ด้านการท่องเที่ยว
ไทยได้เสนอให้ฝ่ายบาห์เรนซื้อสินค้าที่ไทยมีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของบาห์เรน อาทิ ข้าว น้ำตาล ไก่แช่แข็ง อาหารกระป๋องและวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดประชุม Joint Steering Committee ด้านความมั่นคงอาหาร เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป อีกทั้ง ไทยได้เสนอให้มีการตั้งไซโล (silo) ในประเทศไทยเพื่อเป็นคลังอาหารสำหรับบาห์เรน รวมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าไทยที่บาห์เรนด้วย
สำหรับความร่วมมือด้านการเงินการธนาคาร ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะมีความร่วมมือด้านการฝึกอบรม เพื่อเสริมศักยภาพของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายบาห์เรนยินดีให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการลงทุนในตลาดทุนของไทย โดยจะจัดคณะนักลงทุนเดินทางมายังประเทศไทย
สำหรับความร่วมมือด้านการเกษตรและการศึกษา บาห์เรนประสงค์เรียนรู้ประสบการณ์ของไทยเพื่อช่วยเสริมการพัฒนาประเทศและลดการพึ่งพารายได้จากพลังงาน ซึ่งไทยยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ความร่วมมือในกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue – ACD) และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ