Saturday, 21 September 2013

เลื่อนการจัดงานงาน OTOP เพื่อสุขภาพ??????




เนื่องจากเป็นภูมิแพ้อย่างหนัก อันเนื่องมาจากมันเป็นโรคประจำตระกูล แย่จัง เลยต้องมีสมุนไพรประจำตัว อีกทั้งมีสัตว์เลี้ยงมาก ต้องทำความสะอาดมาก ใช้พวกยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง ทั้งกินทั้งอาบ ทั้งสูดดมและทา และสมุนไฟรที่ช่วยในเรื่องการคิด และอายุยืน แข็งแรง ก็ชอบ แม้จะมีแต่นิยมนิยาย หรือศาสดาของโลกเท่านั้น ที่จะไม่เกิดใหม่อีก แต่ต้องวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่เช่นนั้นแล หนีไม่พ้นต้องมาเป็นคู่ลิขิตกันกับใครๆในโลกนี้สารพัด ต้องพึ่งพาและกีกกันแข่งขันกันเพราะรักกันมากอย่างประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรืออาเซียนก็ได้ เพราะ พรมลิขิตให้มาอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน หลบเลี่ยงกันไม่พ้น เพื่อประโยชน์ของภูมิภาครีบมาทำให้เป็นประเทสพัฒนาแล้วเร้วๆดีกว่า

Many Herbs help me to release allergic and serious life..back into stable life..
Sugar love herbs..


คลินิคเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลิตภัณฑ์เด่น
สบู่ก้อนใส  I  สบู่เหลว  I   น้ำยาปรับผ้านุ่ม  I   ครีมบำรุงผิว   I  แชมพู   ครีมนวดผม  I   น้ำยาล้างจาน    น้ำยาล้างพื้น

น้ำยาซักผ้าขจัดคราบ  I   พิมเสนน้ำ  I   บาล์มสมุนไพร   I  น้ำยาปรับผ้านุ่ม  I   น้ำยารีดผ้า  I   น้ำมันนวด     ครีมขัดผิว

เจลไล่ยุง  I   ครีมกันยุง   I  โลชั่นกันยุง   I  เจลล้างมือ   I  ยากันยุงชนิดน้ำ   I   น้ำยาดูดกลิ่น   I  ปุ๋ยหมักชีวภาพ    พืชไร้ดิน

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ   I  ลูกประคบ  I   นวดแผนไทย  I   เลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ  I   ออกแบบบรรจุภัณฑ์     การสะกัดน้ำมันตะไคร้หอม

การสกัดน้ำมันผิวมะกรูด    การสกัดน้ำมันยูคาลิปตัส   การสกัดน้ำมันใบมะตูม I  สารสกัดย่านางคำ   สารสกัดฟ้าทะลายโจร

สารสกัดไพล   I  สารสกัดเหงือกปลาหมอ  I   สารสกัดผักเสี้ยนผี   I  สารสกัดย่านาง   I  สารสกัดว่างหางจระเข้  

สารสกัดแตงกวา    สารสกัดดอกอัญชัญ   I  สารสกัดพญายอ   I  สารสกัดใบชบา   I  สารสกัดกาวเครือขาว     
http://www.clinictech.sc.chula.ac.th/
http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/androg.html


ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์
Andrographis paniculata ( Burm.f. ) Wall. ex Nees
ชื่อวงศ์
Acanthaceae
ชื่ออังกฤษ
-
ชื่อท้องถิ่น
ซีปังกี  ฟ้าทะลาย  หญ้ากันงู

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1.  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ
สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% และ 85% (1, 2)  สารสกัดจากใบ (ไม่ระบุชนิดของสารสกัด) (3) มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยสารชนิดต่างๆ (1-3)  สารออกฤทธิ์คือ 14 deoxy-11, 12-dihydroandrographolide, andrographolide, neoandrographolide (4-6) และ 14-deoxy-11, 12-didehydroandrographolide (5)
                สารสกัดเอทานอล 70% จากทั้งต้น ขนาด 0.2 และ 0.4 มก./มล. ลดการหดตัวของ vas deferens ของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยแคลเซียมคลอไรด์ โดยออกฤทธิ์ไปบล็อค calcium channels ยับยั้งการไหลของแคลเซียมอิออนเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อเรียบของ vas deferens (7)  เช่นเดียวกับสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 0.2, 0.4 และ 0.8 มก./มล. สามารถคลายกล้ามเนื้อมดลูกขาว โดยไปบล็อคที่ calcium channels ทำให้แคลเซียมอิออนไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้ (8)
2.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย
สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (9)  สารสกัดเมทานอล:น้ำ (1:1) (10)  สารสกัดเอทานอล (11)  สารสกัดเอทานอล 95% (12)  สารสกัดอัลกอฮอล์ 85% (13)  สารสกัดเอทานอล 80% (14)  สารสกัดเอทานอล 70% (13, 15)  และสารสกัดน้ำ (16, 17) จากใบและ/หรือลำต้น  มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย (9-17)  ได้แก่  Escherichia coli (12-15, 17), Salmonella typhosa (9), S. krefedS. typhiShigella dysenteriae (13), Proteus vulgaris(10),  Vibrio cholerae (13-15) และ Staphylococcus aureus (11, 12)  เมื่อทดสอบสารสำคัญในฟ้าทะลายโจรพบว่า andrographolide และ dehydroandrographolide มีฤทธิ์ยับยั้ง Bacillus subtilis (18)  andrographolide, deoxyandrographolide และ neoandrographolide จะยับยั้ง Salmonella group A ได้ 1 สายพันธุ์ (19)
สารสกัดอัลกอฮอล์จากทั้งต้น ขนาด 300 มก./loop สามารถยับยั้งการหลั่งสารพิษ (enterotoxins) จากเชื้อ E. coli   สารออกฤทธิ์คือ andrographolide, deoxyandrographolide และ neoandrographolide (20, 21)  หนูถีบจักรที่กินสารสกัดอัลกอฮอล์ 85% ขนาด 0.5, 1 และ 2 ก./กก. จะป้องกันการเกิดอาการท้องเสียที่ถูกกระตุ้นด้วยน้ำมันละหุ่งและแมกนีเซียมซัลเฟต (2)
แต่มีรายงานการศึกษาพบว่าสารสกัดเฮกเซน (16, 22)  สารสกัดคลอโรฟอร์ม สารสกัดเอทานอล 95% (16)  สารสกัดน้ำ (23-25)  และสารสกัดอัลกอฮอล์ (24) จากใบและ/หรือลำต้น  และสาร andrographolide (19, 26), deoxyandrographolide (19, 24)  และ neoandrographolide (19, 24, 26)  ไม่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย (16, 19, 22-26)  การศึกษาในสัตว์ทดลองโดยให้หนูขาวกินสารแขวนลอยของผงใบและลำต้น ขนาด 0.12, 1.2 และ 2.4 ก./กก. นาน 6 เดือน จากนั้นดูดเลือดจากห้องหัวใจ ตัดเนื้อเยื่อปอดและตับมาวางไว้ในจานเลี้ยงเชื้อที่มี B. subtilis และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค พบว่าฟ้าทะลายโจรทุกขนาดไม่มีผลยับยั้ง S. typhiShigella group A, S. aureusและ Bacillus spore (27)
การทดลองฟ้าทะลายโจรในอาสาสมัครสุขภาพดีทั้ง 2 การศึกษา (18, 27) โดยให้กินฟ้าทะลายโจรขนาด 500 มก. 4 ราย  และ 1,000 มก. 6 ราย เปรียบเทียบกับยาแอมพิซิลลินขนาด 250 มก. 1 ราย (18)  และอีกการทดลองให้กินฟ้าทะลายโจรขนาด 1, 2, 3 และ 6 ก. นาน 1 สัปดาห์ (27)  เจาะเลือดแยกซีรัมมาทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบว่าฟ้าทะลายโจรขนาด 1, 2, 3 และ 6 ก. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง Bacillus spore, S. typhiShigella และ S. aureus (27)  ขนาด 500 มก. ทุกราย และ 1,000 มก. 2 ราย ไม่มีฤทธิ์ต้าน B. subtilis ส่วนขนาด 1,000 มก. ที่เหลืออีก 4 ราย มีฤทธิ์ต้าน B. subtilis แต่ออกฤทธิ์น้อยกว่ายาแอมพิซิลลิน (18)  
การทดลองในผู้ป่วย 3 ราย  1 รายกินฟ้าทะลายโจรขนาด 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน เจาะเลือดและปัสสาวะก่อนและหลังกินยา 48 ชม.  1 รายกินยาฟ้าทะลายโจรจากประเทศจีน 2 หลอดๆละ 250 มก. เจาะเลือดก่อนและหลังกินยา 2 ชม. และอีก 1 รายฉีดฟ้าทะลายโจรขนาด 100 มก. ใน 2 มล. เข้ากล้ามเนื้อ เจาะเลือดก่อนและหลังฉีดยา 1 ชม.  นำเลือดและปัสสาวะไปทดสอบฤทธิ์ต้าน B. subtilis พบว่าฟ้าทะลายโจรทุกขนาด ทั้งกินและฉีด ไม่มีฤทธิ์ต้าน B. subtilis (18) 
3.  การทดลองทางคลินิกใช้รักษาอาการท้องเสีย
มีการทดลองรักษาอาการท้องเสียในผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและบิดแบคทีเรีย จำนวน 200 ราย เป็นชาย 98 ราย หญิง 102 ราย  ให้กินผงฟ้าทะลายโจรบรรจุแคปซูล ขนาด 250 มก. แบ่งกินเป็น 2 ขนาด คือ 500 มก. ทุก 6 ชม. นาน 3 วัน และขนาด 1 ก. ทุก 12 ชม. นาน 2 วัน เปรียบเทียบกับยาเตตร้าซัยคลิน พบว่าฟ้าทะลายโจรให้ผลการรักษาเช่นเดียวกับเตตร้าซัยคลิน ลดระยะเวลาต้องนอนพักในโรงพยาบาล ปริมาณน้ำเกลือที่ให้ทดแทน และปริมาณอุจจาระเหลวทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาที่ถ่ายได้ทั้ง 2 ขนาด ขนาดที่ให้ 1 ก. จะได้ผลดีกว่าขนาด 500 มก.  อย่างไรก็ดีเมื่อเปรียบเทียบผลต่อเชื้ออหิวาตกโรคที่พบในอุจจาระผู้ป่วย ฟ้าทะลายโจรจะลดจำนวนเชื้ออหิวาตกโรคไม่ดีเท่ากับเตตร้าซัยคลิน แต่ลดจำนวนเชื้อบิดชิเกลล่าได้ดีกว่า  (28)
4. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
                สารสกัดน้ำและสารสกัดอัลกอออล์จากส่วนที่อยู่เหนือดิน มีฤทธิ์ยับยั้ง Streptococcus group A และ group B น้อย (24)  และเมื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร คือ andrographolide, deoxyandrographolideและ neoandrographolide พบว่าไม่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียดังกล่าว (24, 26)  ในขณะที่ถ้าเป็น crude lactone พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้ง b-Streptococcus group A (26)
5.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (1, 29, 30) สารสกัดด้วยน้ำ (1, 30) และคลอโรฟอร์ม (29) มีฤทธิ์ลดการอักเสบที่ถูกเหนี่ยวนำให้อักเสบด้วย carrageenan (1, 29, 30)  และลดการอักเสบแบบเรื้อรัง (30)  สารสกัดน้ำและสารสกัดอัลกอฮอล์ ขนาด 500 มก./กก. ออกฤทธิ์ใกล้เคียงกับยา prednisolone ขนาด 5 มก./กก., indomethacin ขนาด 5 มก./กก. และ ibuprofen ขนาด 10 มก./กก. (30)  มีการจดสิทธิบัตรยาแคปซูลที่ประกอบด้วยฟ้าทะลายโจร 20-80% นน.,Picrasma quassioides 20-80% นน. เพื่อใช้แก้อักเสบ (31)
6.  สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือ andrographolide (32-40),  neoandrographolide (40, 41), deoxyandrographolide และ deoxydidehydroandrographolide (40)  andrographolide และ neoandrographolideจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งไซโตคายน์หรือสารที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ ได้แก่ a-tumor necrosing factor (33, 34), platelet activating factor (35), nitric oxide (36, 41) และ cyclooxygenase-2 (37) เป็นต้น 
                มีการจดสิทธิบัตรสารประกอบ labdane diterpenes ที่สกัดได้จากฟ้าทะลายโจร สามารถยับยั้งไซโตคายน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (42)
7.  ฤทธิ์เพิ่มการหลั่งในลำคอ
ฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก   ความขมจะเหนี่ยวนำให้การขับน้ำลายออกมามาก จึงทำให้ชุ่มคอ
8.  ฤทธิ์การสร้างภูมิต้านทาน
ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย อาจจะช่วยลดการเจ็บคอเนื่องจากไวรัส (43-48)
9. ฤทธิ์ลดไข้
                สารสกัดเอทานอล 85% (1) และ 95% (49) มีฤทธิ์ลดไข้ในสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้เป็นไข้ด้วยเชื้อทัยฟอยด์ (1) และยีสต์ขนาด 300 มก./กก. (49)  สารที่ออกฤทธิ์คือ andrographolide (50)  แต่สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอล 50% ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ในสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้เป็นไข้ด้วยเชื้อทัยฟอยด์ (1)
10.  การทดลองทางคลินิกใช้รักษาอาการไอและเจ็บคอ
 วิษณุ ธรรมลิขิตกุลและคณะ ได้ทดลองเปรียบเทียบผลการรักษาอาการไข้และเจ็บคอ เปรียบเทียบกับพาราเซตามอล พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาขนาด 6 กรัมต่อวัน มีอาการไข้และการเจ็บคอลดลง ในวันที่ 3 ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจร 3 กรัม/วัน หรือได้รับพาราเซตามอล แต่หลัง 7 วัน ผลการรักษาไม่ต่าง (51) แต่ผลการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อันที่เป็นสาเหตุของการเจ็บคอไม่ได้ผล (18, 45)
11. การทดลองทางคลินิกฤทธิ์ป้องกันและบรรเทาอาการหวัด
                                ฟ้าทะลายโจรให้ผลในการป้องกันหวัดและบรรเทาอาการหวัด การศึกษาในนักเรียนโตในช่วงฤดูหนาว ให้กินยาเม็ดฟ้าทะลายโจรแห้ง ขนาด 200 มก./วัน ในเดือนแรกของการทดลองยังไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่กินยาและกลุ่มควบคุม หลังจาก 3 เดือนของการทดลอง อุบัติการณ์การเป็นหวัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อัตราการเป็นหวัดในกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรเท่ากับ 20% ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีอัตราการเป็นหวัดเท่ากับ 62%  ผลในการป้องกันของยา (the attributable protective effect) เท่ากับ 33% (52) 

ผลการรักษาของยาเม็ด Kan-Jang จากสารสกัดฟ้าทะลายโจรแห้งในผู้ป่วยโรคหวัด จำนวน 61 คน อายุ 18-60 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 33 คน กินยาเม็ดฟ้าทะลายโจร 1,200 มก./วัน และกลุ่มควบคุม 28 คน กินยาหลอก ประเมินผลจากอาการแสดง (symptoms) เช่น เจ็บคอ น้ำมูก คัดจมูก ปวดหู ไอ ตัวร้อน ปวดหัว รู้สึกไม่สบายตัว ด้วย Visual Analog Scale (VAS) เพื่อดูคะแนนรวม และประเมินผลจากอาการทางคลินิก (clinical objective findings) ได้แก่ คออักเสบ (rhinitis) ไซนัสและปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ  ในวันที่ 4 ของการทดลองกลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรจะมีอาการทางคลินิกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีคะแนนรวมของ VAS มากกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าฟ้าทะลายโจรขนาด 1,200 มก. จะทำให้ระยะเวลาของโรคหวัดสั้นลง (53) เช่นเดียวกับผลการศึกษาของ Caceres และคณะ  ผู้ป่วยโรคหวัด 2 กลุ่ม กลุ่มที่กินยา Kan-Jang จากสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาด 1,200 มก./วัน จำนวน 102 คน และกลุ่มควบคุมกินยาหลอก จำนวน 106 คน นาน 5 วัน วัดผลในวันที่ 0, 2 และ 4 ของการรักษา ใช้แบบประเมินตนเอง VAS ซึ่งมีตัววัดคือ อาการปวดศีรษะ เหนื่อย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ มีน้ำมูก phlegin ความถี่และความแรงของการไอ เพื่อวัดความชุกและความรุนแรงของอาการและอาการแสดงของโรคหวัด ผลการทดลองพบว่าวันที่ 2 ของการทดลอง กลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรจะมีอาการเหนื่อยและอาการนอนไม่หลับลดลง  ลดอาการเจ็บคอและน้ำมูก  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม วันที่ 4 ของการทดลอง กลุ่มที่ได้รับฟ้าทะลายโจรจะมีความรุนแรงของทุกอาการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม  โดยเฉพาะอาการเจ็บคอ น้ำมูก และปวดหู  และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ (54)  Melchior J และคณะ  ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหวัด โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษานำร่องในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นหวัดและไม่มีอาการแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 23 คน ในการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาในระยะที่ 3 (phase III) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นหวัดและไม่มีอาการแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนเช่นเดียวกัน จำนวน 179 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 89 คน และกลุ่มควบคุม 90 คน ทั้งสองการทดลองกลุ่มทดลองกินยาเม็ดเคลือบน้ำตาล Kan Jang (ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 85 มก. (andrographolide และ deoxyandrographolide 5.25 มก.) และ Acanthopanax senticosus 9.7 มก. (มี eleutheroside B และ E 2%)) ครั้งละ 3 เม็ด 4 ครั้ง/วัน ระยะเวลาในการรับประทานในการศึกษานำร่อง อย่างน้อย 3 วัน ไม่เกิน 8วัน และการทดลองระยะที่ 3 รับประทาน 3 วัน ประเมินผลโดยใช้ Clinical Report Form (CRF) แบ่งเป็นแบบประเมินตนเองของผู้ป่วย (symptom score) และ CRF ที่ประเมินโดยแพทย์ (diagnosis score) ผลการทดลองในการทดลองนำร่องคือ ผู้ป่วยยอมรับและทนการใช้ยา (compliance and tolerability) ได้มากกว่า 80% ผลการประเมินตนเองพบว่าคะแนนของอาการที่ดีขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน และกลุ่มทดลองมีความแตกต่างของคะแนนรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม 30% แต่เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มอาการพบว่า กลุ่มทดลองจะมีอาการเจ็บคอลดลง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการทดลองในระยะที่ 3 พบว่า คะแนนรวมของแบบประเมิน diagnosis score และ symptom score ในกลุ่มทดลองจะแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยคะแนน symptom score และ diagnosis score ของกลุ่มทดลองจะดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม 55และ 50% ตามลำดับ เมื่อแยกตามอาการกลุ่มทดลองจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ไอ คอแห้ง ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากการทดลอง 3 วัน กลุ่มทดลอง 14 ใน 89 คน ต้องการการรักษาเพิ่มเติม ในขณะที่กลุ่มควบคุมต้องการการรักษาเพิ่มเติม 44 คน ใน 90 คน (55) 

                                การศึกษาเปรียบเทียบยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานจากฟ้าทะลายโจร และยาอื่น) และImmunal (ประกอบด้วยสารสกัดจาก Echinacea purpurea) ร่วมกับการรักษาตามปกติ ในเด็กอายุ 4-11 ปี เป็นหวัดไม่มีอาการแทรกซ้อน ไม่ระบุขนาดยาที่ใช้ กินนาน 10 วัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม A ได้ยา Kan Jang  กลุ่ม B ได้ยา Immunal ทั้งสองกลุ่มได้ยาร่วมกับการรักษาตามปกติ ส่วนกลุ่ม C เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการรักษาตามปกติเพียงอย่างเดียว พบว่า การให้ Kan Jang ร่วมกับการรักษาตามปกติให้ผลดีกว่า Immunal และกลุ่มควบคุม โดยเฉพาะในคนที่เริ่มมีอาการระยะแรก อาการที่เห็นได้ชัดว่าบรรเทาลง คือ ลดน้ำมูก และลดอาการบวมคั่งในจมูก ไม่พบผลข้างเคียง ส่วน Immunal ไม่มีผลดังกล่าว (56)
               
                การศึกษาทางคลินิกในผู้ที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนอย่างเฉียบพลัน รวมทั้งกลุ่มอาการไซนัสอักเสบด้วย  กลุ่มทดลอง 95 คน รับประทานยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานของฟ้าทะลายโจร  85  มก.  (มี andrographolide 5 มก.)   และสารสกัด Acanthopanax senticosus 10 มก. (เท่ากับผงยา 120 มก.))  ครั้งละ 4 เม็ด 3 ครั้ง/วัน กลุ่มควบคุม 90 คน รับประทานยาหลอก ทั้งสองกลุ่มรับประทานยานาน 5 วัน วัดผลโดยให้คะแนนจากการประเมินอุณหภูมิ อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาการแสดงทางคอ ไอ อาการแสดงทางจมูก ความรู้สึกไม่สบายตัว และอาการทางตา  ผลการศึกษาพบว่า คะแนนรวมทั้งหมดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยจะมีอาการปวดศีรษะ อาการทางจมูก อาการทางคอ และความรู้สึกไม่สบายตัวลดลง ในขณะที่ยังมีไอ และอาการทางตาไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อุณหภูมิในกลุ่มทดลองจะลดลงปานกลาง (57)
12. เภสัชจลนศาสตร์ของฟ้าทะลายโจร
ในการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์ของฟ้าทะลายโจรในหนูขาว โดยให้กินสารสกัดเอทานอล 60% ขนาด 20 มก./กก.นน.ตัว พบว่า andrographolide ซึ่งเป็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจรจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วและเกือบสมบูรณ์ อย่างไรก็ดีชีวประสิทธิผลของสารจะลดลงเป็น 4 เท่าเมื่อให้ขนาดยาสูง 10 เท่า andrographolide ประมาณ 55% จะจับกับโปรตีนในพลาสมาและสามารถเข้าสู่เซลล์ได้ในปริมาณที่จำกัดเท่านั้น และการขับandrographolide ออกทางไตไม่ใช่ทางหลักในการขับสารออกจากร่างกาย  และเมื่อศึกษาในอาสาสมัคร  ให้รับประทานยา Kan Jang  ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร และ Acanthopanax senticosus 4 เม็ด ครั้งเดียว (มีandrographolide 20 มก.) ระดับ andrographolide ในพลาสมาถึงระดับสูงสุดหลังจากกินยาไป 1.5-2 ชม. เท่ากับ 393 นก./มล.  ค่าครึ่งชีวิต และค่าเฉลี่ยของเวลาที่ยาจะอยู่ในร่างกาย (mean residence times) เท่ากับ 6.6 และ 10 ชม.ตามลำดับ  (58)

สาร andrographolide ที่ความเข้มข้น 20, 100 และ 200 ไมโคร์โมลาร์ ในเซลล์เพาะเลี้ยง Caco-2 และลำไส้เล็ก พบว่าความเข้มข้น 100 ไมโครโมลาร์ ผ่านได้ดีที่สุด (59)  การขนส่ง andrographolide ผ่านลำไส้ โดยศึกษาในเซลล์ intestinal epithelial Caco-2 monolayers พบว่าค่า permeability coefficient (Papp) ของ  andrographolide ขณะนำเข้า (uptake) ไม่ขึ้นกับความเข้มข้นของสาร ขณะที่การส่งออก (efflux) จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร นอกจากนั้นค่า Papp ในการส่งออกจะลดลงเล็กน้อยเมื่อได้รับ verapamil และ quinidine (สารยับยั้ง P-glycoprotein) และ sodium azide (สารยับยั้งเมตาบอลิสม) ขณะที่ไม่มีผลต่อการนำเข้า แสดงว่า andrographolide น่าจะขนส่งผ่านลำไส้แบบ passive diffusion และ P-glycoprotein อาจจะเกี่ยวข้องกับกลไกการส่งออก (60)

การศึกษาเมตาบอลิสมของ andrographolide จากปัสสาวะ อุจจาระ และในลำไส้เล็กของหนูขาว  จะได้สาร 6 ชนิด คือ 14-deoxy-12(R)-sulfo andrographolide 3-sulfate,  14-deoxy-12(S)-sulfo andrographolide 3-sulfate, 14-sulfo isoandrographolide 3-sulfate, 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide, isoandrographolide และ 14-deoxyandrographolide (61)  และการศึกษาเมตาบอลิสมของ andrographolide ในปัสสาวะคน จะได้สาร 4 ชนิด คือ andrographolide-3-O-sulfate, isoandrographolide-3-O-sulfate, 14-deoxyandrographolide-3-O-sulfate และ 14-deoxy-12-(cysteine-S-yl)-andrographolide-3-O-sulfate (62)

ได้มีการพัฒนาวิธีการบริหารยาและรูปแบบของยา ของ andrographolide ให้อยู่ในรูปของยาที่สอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเมตาบอลิสมของสารในตับ โดยมี P.E.G. 4000 และ 6000 เป็น bases พบว่าจะมีปริมาณยาโดยเฉลี่ยในยาสอดเท่ากับ 49.92±0.24 มก. สามารถละลายได้ภายใน 15-16 นาที ที่ 37 ± 0.5 °C  ภายใน 90 นาที สารจะถูกปลดปล่อยออกมาได้มากกว่า 90%  เมื่อทิ้งยาไว้ 30 วัน ที่อุณหภูมิและความชื้นต่างๆ andrographolideจะคงยังไม่สูญเสียออกไป (63)
13.  หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
13.1  การทดสอบความเป็นพิษ
ให้หนูถีบจักรกินยาแขวนตะกอนจากผงใบแห้งขนาด 2 ก./กก. สารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ขนาด 2.4 ก./กก. และ andrographolide ขนาด 3 ก./กก. (64)  และสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ 50% ขนาด 15 ก./กก. (65) ไม่พบหนูตาย (64, 65) ไม่พบพิษจากการให้สารสกัดจากใบ 20 ก. ด้วยน้ำ 600 มล. ในหนู และขนาด 10 มล./1 กก. ในกระต่าย (29)  สารสกัดน้ำจากใบและกิ่ง หรือสารสกัดน้ำ เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่น้อยที่สุดที่ทำให้เป็นพิษคือ 0.5 มล./ตัว (66) ขนาดของสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ 50% ที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งเมื่อให้ทางปากและฉีดเข้าผิวหนัง มีขนาดมากกว่า 15 ก./กก. และฉีดเข้าช่องท้องมีขนาด 14.98 ก./กก. (65) และขนาดของสารสกัดด้วยเมทานอล : น้ำ (1:1) ที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่งหนึ่งเมื่อฉีดเข้าช่องท้องมีขนาดมากกว่า 1 ก./กก. (10)

การฉีดสารสกัดซาโปนินเข้าช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 300 มก./กก. ทำให้สัตว์ทดลองเพลีย หายใจเร็ว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และการเปลี่ยนอิริยาบถลดลง  ในขนาด 1,000 มก./กก. หลังจากฉีดได้ 8 นาที มีอาการชัก สั่นและตาย สารสกัดด้วยน้ำในขนาด 300 มก./กก. มีอาการอ่อนเพลีย การหายใจเร็ว การรับรู้ลดลงและกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการคงอยู่ 24 ชม.  ในขนาด 1,000 มก. มีอาการคล้ายๆ กับขนาด 300 มก. แต่ตายใน 24 ชม.  สารสกัดอีเทอร์ 100 มก./กก. ทำให้การรับรู้ และระบบการเคลื่อนไหวลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาการคงอยู่ 1 ชม.  ในขนาด 1,000 มก. อาการเหมือนกันแต่ตายใน 45 นาที ผงสารสกัดอีเทอร์ในขนาด 300 มก./กก. ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการจะคงอยู่ 2 ชม. เมื่อให้ขนาด 1,000 มก. อาการอ่อนแรงและตายหลัง 24 ชม.   สารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ขนาด 300 มก./กก. ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย การเคลื่อนไหวลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาการคงอยู่ 24 ชม. ขนาด 1,000 มก. 5 ชม. 5 นาทีหลังฉีด หนูจะมีอาการสั่นในที่สุดตาย  ส่วนสารสกัดอีเทอร์ที่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์ส่วนหนึ่งในขนาด 1,000 มก./กก. จะทำให้อ่อนเพลีย และตายใน 3 ชม. 30 นาที หลังได้ยา (67)

ฉีดสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ สารสกัดเอทิลอีเทอร์ สารสกัดเมทานอล ส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัดเอทิลอีเทอร์ และส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัดเมทานอล เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาด £ 300, £ 30, £ 100, £ 300และ £ 100 มก./กก. ตามลำดับ ไม่พบพิษ แต่เมื่อให้สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ ขนาด 1,000 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้ พบว่าหนูอ่อนแรง ลดอาการระแวดระวัง ลด motor activity และลด normal posture นาน 24 ชม.สารสกัดเอทิลอีเทอร์ ขนาด 100 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้ จะทำให้หนูอ่อนแรงนาน 1 ชม. ขนาด 300 มก./กก. ทำให้หนูอ่อนแรงและตายหลังจากนั้น 24 ชม. ขนาด 1,000 มก./กก. หนูจะอ่อนแรงและตายหลังจากนั้น 45นาที ตรวจพบว่าตับบวม สารสกัดเมทานอล ขนาด 300 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศเมีย จะทำให้หนูอ่อนแรง ลด motor activity ลด muscle tone ลด normal posture นาน 24 ชม. ขนาด 1,000 มก./กก. หนูจะเกิดก้อนเนื้องอกอย่างรวดเร็ว เกิด straub tail ชัก และตายหลังจากได้รับสาร 5 ชม. 5 นาที ส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัดเอทิลอีเทอร์ ขนาด 1,000 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศเมีย จะทำให้หนูอ่อนแรง และตายหลังจากนั้น 3 ชม. 30นาที ตรวจพบช่องท้องและช่องอกปกติ แต่มีเลือดออกที่ปอดเล็กน้อย ส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัดเมทานอล ขนาด 300 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศเมีย  จะทำให้หนูอ่อนแรง เพิ่มอัตราการหายใจ ลด motor activity นาน3 ชม. ขนาด 1,000 มก./กก. หนูจะชัก เกิด straub tail และก้อนเนื้องอกหลังจากได้รับสาร 8 นาที ต่อมาจะตาย (68)

การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรัง ให้หนูถีบจักรกินผงยาขนาด 200 และ 400 มก./กก. วันเว้นวัน นาน 4 สัปดาห์ หรือให้หนูขาวเพศผู้กินสารสกัดในขนาด 50, 100 และ 150 มก./กก. วันเว้นวัน นาน 14 สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติใดๆ  แต่หนูที่ได้รับขนาด 150 มก./กก. จะมีอัตราการเติบโตช้าลงเล็กน้อย (64)  ให้หนูกินสารสกัดด้วยเอทานอล 70% ขนาด 1 ก./กก. นาน 60 วัน ไม่พบพิษต่อระบบสืบพันธุ์เพศผู้ (69) และให้หนูขาวกินน้ำยาแขวนตะกอนจากฟ้าทะลายโจรขนาด 0.12, 1.2 และ 2.4 ก./กก./วัน นาน 6 เดือน ไม่พบพิษ (65)

13.2  ก่อกลายพันธุ์
ส่วนสกัดเฮกเซนและส่วนสกัดอัลกอฮอล์จากฟ้าทะลายโจร (70) และสารสกัดน้ำจากใบและลำต้น ขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ (71) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA100 (70, 71)

13.3  ผลต่อระบบสืบพันธุ์
มีการทดสอบความเป็นพิษของฟ้าทะลายโจร โดยนำสารสกัดมาตรฐาน (สกัดด้วยอัลกอฮอล์ 70%) มาให้หนูขาวกินในขนาด 20, 200 และ 1,000 มก./กก. เป็นเวลา 60 วัน ไม่พบพิษต่ออวัยวะสืบพันธุ์ (72) แต่มีรายงานว่าเมื่อให้อาหารที่ผสมลำต้นในสัดส่วน 40 มก.ต่อหนูถีบจักร Wistar ทั้งเพศผู้และเพศเมียแต่ละตัว นาน 14 วัน แล้วจึงให้ผสมพันธุ์ และยังคงให้อาหารที่ผสมฟ้าทะลายโจรต่ออีก 3 สัปดาห์ พบว่าหนูเพศเมียเป็นหมัน (73) เมื่อให้อาหารที่มีส่วนผสมของราก ลำต้น และใบฟ้าทะลายโจร 0.75% แก่หนูถีบจักร Wistar ทั้งเพศผู้และเพศเมีย พบว่าอาหารที่มีส่วนผสมของลำต้น 0.75% กินนาน 3 สัปดาห์ขึ้นไปเท่านั้นที่มีผลทำให้หนูเพศผู้เป็นหมัน (74) และมีรายงานว่าทำให้การผลิตอสุจิลดลง เมื่อกรอกให้หนูขาวในขนาด 20 มก./ตัว เป็นเวลา 60 วัน มีการเปลี่ยนแปลงของ seminiferous tubules และ regression of leydig cells (75) ต่อมาได้มีการทดลองผลของ andrographolide โดยให้หนูขาวอายุ 3 เดือน 2ขนาดเป็นเวลา 48 วัน พบว่าการผลิตอสุจิลดลง อสุจิไม่เคลื่อนไหว และบางตัวมีความผิดปกติ และมีการผิดปกติเช่นเดียวกับเมื่อให้ผงฟ้าทะลายโจร ผู้วิจัยจึงแนะนำว่าอาจนำมาใช้เป็นยาคุมกำเนิดชาย (76)

การใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการท้องเสีย
         ใช้แคปซูลของผงใบฟ้าทะลายโจรขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน 2 แคปซูล รับประทาน 4 ครั้งต่อวัน (77)

การใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการไอและเจ็บคอ
1. นำใบฟ้าทะลายโจรสดตากแห้งในร่ม บดเป็นผงละเอียด นำมาปั้นเป็นยาลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย ผึ่งลมให้แห้ง รับประทาน 3-6 เม็ด วันละ 4 ครั้ง 3 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน (78)
2. ใช้แคปซูลของผงใบฟ้าทะลายโจร ขนาด 250 มิลลิกรัม จำนวน 2 แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน (78)

การใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาฝี
         นำใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ด ใส่ผสมตำรวมกันในครกพอละเอียดดี เอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชา ใส่รวมลงไปคนให้เข้ากันดีเทน้ำกินค่อนถ้วยชา กากที่เหลือพอกแผลฝี แล้วเอาผ้าสะอาดพันไว้ พอกใหม่ๆจะรู้สึกปวดนิดหน่อย (79)

เอกสารอ้างอิง
1.        Sawasdimongkol K, Permpipat U, Kiatyingungsulee N, et al.  Pharmacological study of Andrographis paniculata Nee.  Symposium on Andrographis paniculata, National Institite of Health, Bangkok, Thailand, 1990. 
2.        กัลยา อนุลักขณาปกรณ์  อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์.  ฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจรในการลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก และป้องกันการเกิดอาการท้องเสียในสัตว์ทดลอง.  วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2540;39(1):23-33. 
3.        โสภิต ธรรมอารี  จันทิมา ปโชติการ  มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร  จันทนี อิทธิพานิชพงศ์.  ฤทธิ์ของยาสมุนไพร 30 ชนิด ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคท้องร่วงและบิดต่อการบีบตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา.  จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2528;29(1):39-51.
4.        Dhumma-Upakorn P, Chaichantipyuth C, Pongjunyakul P, Sangalungkarn V, Chaimongkol S.  Spasmolytic activity of some active substances from Andrographis paniculata.  JSPS-NRCT Seminar: Pharmacological Active Substance from Natural Source, Faculty of Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 1992:21. 
5.        วนิดา แสงอลังการ  ประสาน ธรรมอุปกรณ์  อุมา กิติยานี  ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ.  ผลของ andrographolide, neoandrographolide และ 14-deoxy-11, 12-didehydroandrographolide ต่อการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหนูขาวนอกร่างกาย.  ไทยเภสัชสาร 2533;15(1):5-16.
6.        ประสาน ธรรมอุปกรณ์.  ผลของแอนโดรกราโฟไลด์ นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ และ 14-ดีออกซี-11, 12-ไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ ต่อการหดเกร็งกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารและลำไส้ที่แยกออกจากตัวสัตว์ทดลอง.  การประชุมเสนอผลงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8 15 ธ.ค. 2532. 
7.        George M, Pandalai KM.   Investigations on plant a Burgos RA, Imilan M, Sanchez NS, Hancke JL.  Andrographis paniculata (Nees) selectively blocks voltage-operated calcium chennels in rat vas deferens.  J Ethnopharmacol 2000;71:115-21. 
8.        Burgos RA, Aguila MJ, Santiesteban ET, Sanchez NS, Hancke JL.  Andrographis paniculata (Nees) induces relaxation of uterus by blocking voltage operated calcium channels and inhibits Ca 2+ influx.  Phytother Res 2001;15(3):235-9.
9.        Bhatnagar SS, Santapau H, Desa JDH, et al.  Biological activity of Indian medicinal plants. Part I. Antibacterial, antitubercular and antifungal action.  Ind J Med Res 1961;49(5):799-809.
10.     Nakanishi K, Sasaki SI, Kiang AK, et al.  Phytochemical survey of Malaysian plants. Preliminary chemical and pharmacological screening.  Chem Pharm Bull 1965;13(7):882-90. 
11.     Aromdee C, Khunkitti W, Chitropas P, Boonsang I.  Autography evaluation of antioxidant and antimicrobial activities of Acanthaceae family.  Thai J Pharm Sci 2003;27(suppl):61. 
12.     George  M, Pandalai KM.  Investigation on plant antibiotics. Part IV. Furthur search for antibiotic substances in Indian medicinal plants.  Indian J Med Res 1949;37:169-81. 
13.     ธิดารัตน์ ปลื้มใจ.  ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของฟ้าทะลายโจร.  วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2535;34(1):9-15.
14.     Pleumjai T, Sithisomwongse, N.  Antimicrobial activity of Andrographis paniculata Nees.  Symposium on Andrographis paniculata, National Institute of Health, Nonthaburi, Thailand, 22 Oct 1990. 
15.     George M, Pandalai KM.  Investigations on plant antibiotics Part IV. Futher search for antibiotic substance in Indian medicinal plants.  Indian J Med Res 1949;56:81-4.
16.     Leangbunlertchai T, Leungsakul S.  Antibacterial activities of Andrographis paniculata extracts.  Srinakharinwirot Univ Sci J (Warasan Witthayasat Mo-So-Wo) 1988;4(2):128-35. 
17.     Kanbutra P, Porntrakulpipat S, Borisutpeth P, Sarachoo K, Jivaganon J, Aromdee C, Wongkham S.  Antibacterial activity of Thai medicinal plants on Escherichia coli (F18+).  The 2nd International Conference on Medicinal Mushroom and the International Conference on Biodiversity and Bioactive Compounds, Pattaya, Thailand, 17-19 July 2003:479-81.
18.     วิษณุ ธรรมลิขิตกุล  สุรภี พฤกษชาติวุฒิ.  การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร.  สารศิริราช 2533;42(8):431-4.
19.     จริยา สินเดิมสุข.  ฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อเชื้อโรคท้องร่วงที่พบมากในเมืองไทย.  วารสารกรมการแพทย์ 2536;18(8);394-9.
20.     Gupta S, Choudhry MA, Yadava JNS, Srivastava V, Tandon JS.  Antidiarrhoeal activity of diterpenes of Andrographis paniculata (Kal-Megh) against Escherichia coli enterotoxin in in vivo models.  Int J Crude Drug Res 1990;28(4):273-83.
21.     Gupta S, Yadava JNS, Tandon JS.  Antisecretory (antidiarrhoeal) activity of Indian medicinal plants against Escherichia coli enterotoxin-induced secretion in rabbit and guinea pig ileal loop models.  Int J Pharmacog 1993;31(3):198-204. 
22.     Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F.  Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties.  J Ethnopharmacol 1998;62:183-93. 
23.     อมร ลีลารัศมี  สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์  นาถฤดี สิทธิสมวงศ์.  สมุนไพรฟ้าทะลายโจรไม่สามารถออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย.  รายงานการประชุมฟ้าทะลายโจร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 
24.     นวลตา ม่วงน้อยเจริญ อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ วิชัย ปราสาททอง และคณะ.  ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบทางเคมีของฟ้าทะลายโจรและผลทางการรักษาโรค.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2538. 
25.     Voravuthikunchai S, Lortheeranuwat A, Jeeju W, Sririrak T, Phongpaichit S, Supawita T.  Effective medicinal plants against enterohaemorrhagic Escherichia coli O157:H7.  J Ethnopharmacol 2004;94:49-54. 
26.     สุรัชนี เศวตศิลา  อาภาพรรณ ทองบุญรอด  วิรารัตน์ คำเมือง.  การทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของฟ้าทะลายโจรในห้องปฏิบัติการ.  รายงานการประชุมฟ้าทะลายโจร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.
27.     Leelarasamee A, Trakulsomboon S, Sittisomwong N.  Undetectable anti-bacterial activity of Andrographis paniculata (Burma) Wall. ex Nees.  J Med Assoc Thai 1990;731(6):299-304. 
28.     ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ  ปัญจางค์ ธนังกูล.  สมุนไพรฟ้าทะลายโจร : ยาแก้บิดแบคทีเรียและอาการอุจจาระร่วงเฉียบพลัน.  การประชุมเสนอผลงานวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8 15 ธ.ค. 2532.    
29.     Chantasutra V, Limpapanichkul S.  Acute antiinflammatory activity of Andrographis paniculata Nees in rats.  The eight Conference, Faculty of Pharmacy, Chulalongkorn University, 1989. 
30.     เสาวภา ลิมป์พานิชกุล.  การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในหนูขาว.  วิทยานิพนธ์ สาขาเภสัชวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2532. 
31.     Li Y, Jiang Y.  Preparation of compound Picrasma quassioides anti-inflammatory capsules.  Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1562245, 2005:5pp.
32.     Madav S, Tandan SK, Lal J, Tripathi HC.  Anti-inflammatory activity of andrographolide.  Fitoterapia 1996;67(5):452-8. 
33.     Thamaree S, Rugrungtham K, Ruangrungsi N, Thawan N, Kemsri W.  The inhibitory effects of extracts of some herbal medicines on the production of proinflammatory cytokines by in vitro stimulated human blood cells.  Thai J Pharm Sci 1998;22(3):S47. 
34.     Thamaree S, Rugrungtham K, Ruangrungsi N, Thaworn N, Kemsri W.  The inhibitory effects of andrographolide and extracts of some herbal medicines on the production of proinflammatory cytokines by LPS-stimulated human blood cells.  Chula Med J 2001;45(8):661-70.
35.     Johansson S, Goransson U, Luijendijk T, Backlund A, Claeson P, Bohlin L.  A neutrophil multitarget functional bioassay to detect ant-inflammatory natural products.  J Nat Prod 2002;65:32-41.
36.     Chiou WF, Chen CF, Lin JJ.   Mechanisms of suppression of inducible nitric oxide synthase (iNOS) expression in RAW 264.7 cells by andrographolide.  Br J Pharmacol  2000;129(8):1553-60. 
37.     Hidalgo MA, Romero A, Figueroa J, Cortes P, Concha II, Hancke JL, Burgos RA.  Andrographolide interferes with binding of nuclear factor-kappa B to DNA in HL-60-derived neutrophilic cells.  Br J Pharmacol 2005;144(5):680-6.
38.     Shen YC, Chen CF, Chiou WF.  Andrographolide prevents oxygen radical production by human neutrophils: possible mechanism(s) involved in its anti-inflammatory effect.  Br J Pharmacol  2002;135(2):399-406. 
39.     Shen Y-C, Chen C-F, Chiou W-F.  Supression of rat neutrophil reactive oxygen species production and adhesion by the diterpenoid lactone andrographolide.  Planta Med 2000;66:314-7. 
40.     Deng W, Nie R, Liu J.  Comparison of pharmacological effect of four andrographo-lides.  Yao Hsueh T’ung Pao 1982;17(4):195-8.
41.     Batkhuu J, Hattor I K, Takano F, Fushiya S, Oshiman K, Fujimiya Y.  Supression of NO production in activated macrophages in vitro and ex vivo by neoandrographolide isolated from Andrographis paniculata.  Biol Pharm Bull 2002;25(9):1169-74.
42.     Orozco H, Luis J, Aguilera B, Agustin R.  Composition of labdane diterpenes extracted from Andrographis paniculata, for the treatment of autoimmune diseases and Alzheimer disease by activation of  PPAR-gamma receptors.  Patent: PCT Int Appl WO 2005074953, 2005:68pp. 
43.     Deng W, Nie R, Liu J.  Comparison of pharmacological effect of Andrographolides.  Yao Hsueh T'ung Pao 1982;174:195-8.
44.     กัมมาล กุมาร ปาวา สมบูรณ์ เกียรตินันทน์ โสภิต ธรรมอารี กรกนก อังคนินันท์ สุดา ลุยศิริ-โรจนกุล อังคณา ฉายประเสริฐ.  การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ของสมุนไพรมะเม่าและฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของพืชสมุนไพรไทย 4 ชนิด.  การสัมมนาการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพร กรุงเทพฯ 31 ก.ค.-1 ส.ค. 46:21-36. 
45.     Sutarjadi, Santosa MH, Bendryman, Dyatmiko W.  Immunomodulatory activity of Piper betleZingiber aromaticaAndrographis paniculataAllium sativum and Oldenlandia corymbosa grown in Indonesia.  Planta Med 1991;57(suppl 2):A136. 
46.     Puri A, Saxena R, Saxena RP, Saxena KC.  Immunostimulant agents from Andrographis paniculata.  J Nat Prod 1993;56(7):995-9.
47.     Panossian A, Davtyan T, Gukassyan N, Gukasova G, Mamikonyan G, Gabrielian E, Wikman G.  Effect of andrographolide and Kan Jang – fixed combination of extract SHA-10 and extract SHE-3 – on proliferation of human lymphocytes, production of cytokines and immune activation markers in the whole blood cells culture.  Phytomedicine 2002;9:598-605. 
48.     Ajaya Kumar R, Sridevi K, Vijaya Kumar N, Nanduri S, Rajagopal S.  Anticancer and immunostimulatory compounds from Andrographis paniculata.  J Ethnopharmacol 2004;92:291-5. 
49.     Vedavathy S, Rao KN.  Antipyretic activity of six indigenous medicinal plants of Tirumala hills, Andhra Pradesh, India.  J Ethnopharmacol 1991;33:193-6. 
50.     Madav S, Tripathi HC, Tandan MSK.  Analgesic, antipyretic and antiulcerogenic effects of andrographolide.  Indian J Pharm Sci 1995;57(3):121-5.
51.     Thamlikitkul V, Dechatiwongs T, Chaipong S, et al.  Efficacy of Andrographis paniculata Nees. for Pharyngotonsilities in adults.  J Med Assoc Thai 1991;74(10):537-542.
52.     Caceres DD, Hancke JL, Burgos RA, Wikman GK.  Prevention of common colds with Andrographis paniculata dried extract. a pilot double blind trial.  Phytomedicine 1997;4(2):101-4. 
53.     Hancke J, Burgos R, Caceres D, Wikman GK.  A double-blind study with a new monodrug Kan Jang: decrease  of symptoms and improvement in the recovery from common colds.  Phytother Res 1995;9:559-62. 
54.     Caceres DD, Hancke JL, Burgos RA, Sandberg F, Wikman GK .  Use of visual analogue scale measurements (VAS) to asses the effectiveness of standardized Andrographis paniculata extract SHA-10 in reducing the symptoms of common cold.  A randomized double blind-placebo study.  Phytomedicine 1999;6(4):217-23. 
55.     Melchior J, Spasov AA, Ostrovskij OV, Bulanov AE, Wikman GK.  Double-blind, placebo-controlled pilot and phase III study of activity of standardized Andrographis paniculata herba Nees extract fixed combination (Kan Jang) in the treatment of complicated upper-respiratory tract infection.  Phytomedicine 2000;7(5):341-50. 
56.     Spasov AA, Ostrovskij OV, Chernikov MV, Wikman G.  Comparative controlled study of Andrographis paniculata fixed combination, Kan Jang and Echinacea preparation as adjuvant, in the treatment of uncomplicated respiratory disease in children.  Phytother Res 2004;18(1):47-53. 
57.     Gabrielian ES, Shukarian AK, Goukasova GI, Chandanian GL, Panossian AG, Wikman G, Wagner H.  A double blind, placebo-controlled study of Andrographis paniculata fixed combination Kan Jang in the treatment of acute upper respiratory tract infections including sinusitis.  Phytomedicine 2002;9:589-97
58.     Panossian A, Hovhannisyan A, Mamikonyan G, et al.  Pharmacokinetic and oral bioavailability of andrographolide from Andrographis paniculata fixed combination Kan Jan in rats and human.  Phytomedicine 2000;7(5):351-64.
59.     จำรัส กาญจนไพบูลย์ นุศรา ปิยะพลรุ่งโรจน์ วุฒิชัย นุตกุล ณฐกานต์ ม่วงทิม ธีระวุธ ปิ่นทอง.  Permeability of adrographolide across intestinal epithelium cells.  การประชุมวิชาการครั้งที่ 1 “พันธมิตรร่วมใจ เพื่อการสร้างสุขภาพยุคใหม่” กรุงเทพฯ 1-2 พ.ค. 46:37.
60.     Kanchanapiboon J, Nuanngam S, Thanoo S, Muangthim N, Nutakul W, Pinthong T.  Transport of andrographolide across the human intestinal Caco-2 monolayers.  Thai J Pharm Sci 2005;29(suppl):97.
61.     He X, Li J, Gao H, Qiu F, Cui X, Yao X.  Six new andrographolide metabolites in rats.  Chem Pharm Bull 2003;51(5):586-9.
62.     Cui L, Qiu F, Wang N, Yao X.  Four new andrographolide metabolites in human urine.  Chem Pharm Bull 2004;52(6):772-5.
63.     Senthil Kumaran K, Thirugnanasambantham P, Viswanathan S, Sree Rama Murthy M.  Development and evaluation of andrographolide (from Andrographis paniculata) rectal suppositories.  Indian Drugs 2002;39(12):648-50.
64.     Dhammaupahorn P, Chaichantipyuth C.  Acute and subcronic toxicity studies of Andrographis paniculata in rats and mice.  Abstr The 8th symposium, Faculty of pharmacy, Chulalongkorn University Bangkok, Thailand, December, 1989. 
65.     Sithisomwongse N, Phengchata J, Cheewapatana S, et al.  Acute and cronic toxicity of Andrographis paniculata Nee.  Thai J Pharm Sci. 1989;14(2):109-17.  
66.     Feng PC, Haynes LJ, Magnus KE, Plimmer JR, Sherrat HSA.  Pharmacological screening of some west Indian medicinal plants.  J Pharm Pharmacol 1962;14:556-61. 
67.     Kintanar QL, Mercado-Sison FE.  Pharmacological screening of Philippine plants using a multidimensional observation technique in mice.  The Philippine J Sci 1978;107(1-2):71-94. 
68.     Garcia LL, Kintanar QL, Fojas FR, Sison FM, Chua NG, Vili Anueva BA.  Pharmacological studies on the leaves of Andrographis paniculata Nees. Plant grown in the Philippines.  Acta Medica Philippina 1980;16(2);59-68. 
69.     Burgos RA, Caballero EE, Sanchez NS, Schroeder RA, Wikman GK, Hancke JL.  Testicular toxicity assessment of Andrographis paniculata dried extract in rats.  J Ethnopharmacol 1997;58(3):219-24.
70.     แก้ว กังสดาลอำไร วรรณี โรจนโพธิ์.  การประเมินฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสมุนไพรไทยในรูปของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และสมุนไพรบางชนิด โดยวิธีเอมส์เทสต์.  รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 
71.     Yin XJ, Liu DX, Wang H, et al.  A study on the mutagenicity of 102 raw pharamceuticals used in Chinese traditional medicine.  Mutat Res 1991;260(1):73-82.
72.     Melchior J, Palm S, Wikman G.  Controlled clinical study of standardized Andrographis paniculata extract in common cold-a pilot trial.  Phytomedicine 1996;3(4):315-8. 
73.     Shamsuzzoha M, Shamsur Rahman M, Mohiuddin Ahmed M, et al.  Antifertility effect in mice of medicinal plant of family Acanthaceae.  Lancet 1978:900. 
74.     Shamsuzzoha M, Shamsur Rahman M, Muhiuddin Ahmed M.  Antifertility activity of a medicinal plant of the genus Andrographis Wall (Family Acanthaceae) Part II.  Bangladesh Med Res Counc Bull 1979;5(1):14-8.
75.     Akbarsha MA, Manivannan B, Hamid KS, Vijayan B.  Antifertility effect of Andrographis paniculata (Nees) in male albino rat.  Indian J Exp Biol 1990;28(5):421-6.
76.     Akbarsha MA, Murugaian P.  Aspects of the male reproductive toxicity/male antifertility property of andrographolide in albino rats: effect on the testis and the cauda epididymidal spermatozoa.  Phytotheraphy Res: PTR 2000;14(6):432-5.
77.     Nakannishi K, Sasaki SI, Kiang AK, Goh J, KAkisawa H, Ohashi M.  Phytochemical and pharmacological screening.  Chem Pharm Bull 1965;13:822. 
78.     สำนักงานข้อมูลสมุนไพร.  คู่มือสมุนไพรประจำตู้ยา.  กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531:83. 
79.     โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง.  ฟ้าทะลายโจร.  ข่าวสมุนไพร 2527;20:19. 


ประกาศ/หนังสือสั่งการ
การจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ  
หนังสือที่ มท 0408.2/ว 746 ลว . 10 ก.ย.2556 เรื่องการจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ
การจัดงาน OTOP ภูมิภาค ภาคใต้  
หนังสือ ที่ มท ๐๔๐๘.๖/ว ๑๖๒๒ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๖ เรื่อง การจัดงาน OTOP ภูมิภาค ภาคใต้
การดำเนินงานศูนย์แสดงจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP บริเวณตลาดธนบุรี(สนามหลวง๒)
ด่วนที่สุด หนังสือที่ มท 0408.6/ว1590 ลว. 11 ก.ย. 2556
การจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ
หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท.0408.2/ว 1586 ลว. 10 ก.ย.2556 เรื่องการจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ
โครงการจัดแสดงผลสำเร็จของโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ 
หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0409.5/ว1538 ลว 4 ก.ย. 56
ประกาศ/หนังสือสั่งการ การจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ หนังสือที่ มท 0408.2/ว 746 ลว . 10 ก.ย.2556 เรื่องการจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ การจัดงาน OTOP ภูมิภาค ภาคใต้ หนังสือ ที่ มท ๐๔๐๘.๖/ว ๑๖๒๒ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๖ เรื่อง การจัดงาน OTOP ภูมิภาค ภาคใต้ การดำเนินงานศูนย์แสดงจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP บริเวณตลาดธนบุรี(สนามหลวง๒) ด่วนที่สุด หนังสือที่ มท 0408.6/ว1590 ลว. 11 ก.ย. 2556 การจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท.0408.2/ว 1586 ลว. 10 ก.ย.2556 เรื่องการจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ โครงการจัดแสดงผลสำเร็จของโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0409.5/ว1538 ลว 4 ก.ย. 56





เหงือกปลาหมอ สรรพคุณและประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ 54 ข้อ !

เหงือกปลาหมอ สรรพคุณและประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ 54 ข้อ !
เรียงเรียบข้อมูลโดย กรีนเนอรัลด์ ดอทคอม

เหงือกปลาหมอ

เหงือกปลาหมอ ชื่อสามัญ Sea holly, Thistleplike Plant เหงือกปลาหมอ ชื่อวิทยาศาสตร์Acanthus ebracteatus Vahl จัดอยู่ในวงศ์ Acanthaceae มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่), อีเกร็ง (ภาคกลาง), นางเกร็ง จะเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน เป็นต้น โดยต้นเหงือกปลาหมอนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ที่เป็นดอกสีม่วง (พบมากทางภาคใต้) และพันธุ์ที่เป็นดอกสีขาว (พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันออก)
สมุนไพรเหงือกปลาหมอ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสมุทรปราการ และเป็นมักขึ้นตามบริเวณชายฝรั่งแม่น้ำลำคลอง เช่น บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝรั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงษ์ และที่โรงเรียนนายเรือ เป็นต้น
ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ สมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าเป็นสมุนไพรชายน้ำหรือชายเลนก็ได้ ซึ่งสามารถนำสรรพคุณทางยามาใช้ในการรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด ที่โดดเด่นมากก็คือการนำมารักษาโรคผิวหนังเกือบทุกชนิด แก้น้ำเหลืองเสีย และการนำมาใช้รักษาริดสีดวงทวาร เป็นต้น โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรก็ได้แช่ ส่วนลำต้นทั้งสดและแห้ง ใบทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด และทั้งต้น (ส่วนทั้ง 5 ประกอบไปด้วย ต้น ราก ใบ ผล เมล็ด)

ลักษณะของเหงือกปลาหมอ

  • ต้นเหงือกปลาหมอ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแข็งมีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและในที่ๆ มีความชื้นสูง ชอบขึ้นตามชายน้ำ หรือบริเวณริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเมล็ดและการใช้กิ่งปักชำ
ต้นเหงือกปลาหมอ
  • ใบเหงือกปลาหมอ ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้าเป็นระยะๆ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น
ใบเหงือกปลาหมอ
  • ผลเหงือกปลาหมอ ลักษณะของผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอกหรือรูปไข่หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ข้างในมีฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด
  • ดอกเหงือกปลาหมอ ออกดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่
ดอกเหงือกปลาหมอ

สรรพคุณของเหงือกปลาหมอ

  1. สมุนไพรต้นเหงือกปลาหมอ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้อายุยืน ร่างกายแข็งแรง เลือดลมไหลเวียนดี เส้นเลือดไม่อุดตัน บำรุงผิวพรรณ ด้วยการใช้ทั้งต้นเหงือกปลาหมอนำมาตำผสมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 แล้วคลุกเคล้าผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน ว่ากันว่าหากรับประทานติดต่อกัน 1 เดือน จะทำให้ปัญญาดี ไม่มีโรค / 2เดือน ผิวหนังเต่งตึง / 3 เดือน ทำให้ริดสีดวงหาย / 4 เดือน ช่วยแก้ลม 12 จำพวก หูไว / 5 เดือน หมดโรค / 6 เดือน ทำให้เดินไม่รู้จักเหนื่อย / 7 เดือนผิวสวย / 8 เดือน เสียงเพราะ / 9 เดือน หนังเหนียว (ทั้งต้น,ราก)
  2. เหงือกปลาหมอ สรรพคุณช่วยบำรุงประสาท (ราก)
  3. ช่วยรักษาอาการธาตุไม่ปกติ (ทั้งต้น)
  4. ช่วยทำให้เลือดลมเป็นปกติ (ทั้งต้น)เหงือกปลาหมอขาว
  5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)
  6. ช่วยแก้โรคกระษัย อาการซูบผอมเหลืองทั้งตัว ด้วยการใช้ทั้งต้นของเหงือกปากหมอนำมาตำเป็นผงกินทุกวัน (ต้น)
  7. ช่วยแก้อาการร้อนทั้งตัว เจ็บระบบทั้งตัว ตัวแห้ง เวียนศีรษะ หน้ามืดตามัว มือตายตีนตาย ด้วยการใช้ทั้งต้นของเหงือกปลาหมอ และเปลือกมะรุมอย่างละเท่ากัน ใส่หม้อต้ม ผสมกับเกลือเล็กน้อย หมาก 3 คำ เบี้ย 3 ตัว วางบนปากหม้อ แล้วใช้ฟืน 30 ดุ้น ต้มกับน้ำเดือดจนงวดแล้วยกลง เมื่อเสร็จให้กลั้นใจกินขณะอุ่นๆจนหมด อาการก็จะดีขึ้น (ทั้งต้น)
  8. ช่วยยับยั้งมะเร็ง ต้านมะเร็ง (ทั้งต้น)
  9. ช่วยรักษาอาการปอดอักเสบ ด้วยการใช้เหงือกปลาหมอทั้งต้น และข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน นำมาต้มกับน้ำจนเดือดแล้วนำมาดื่มในขณะอุ่นๆ ครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น อาการจะดีขึ้น (ทั้งต้น)
  10. รักษาปอดบวม ข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ* (ใบ)
  11. ต้นมีรสเค็มกร่อย สรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ต้น)
  12. รากช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ หรือจะใช้เมล็ดนำมาต้มดื่มแก้อาการไอก็ได้เช่นกัน (ราก,เมล็ด)
  13. ช่วยแก้หืดหอบ (ราก)
  14. สรรพคุณต้นเหงือกปลาหมอ ช่วยรักษาวัณโรค ด้วยการใช้ต้นนำมาตำผสมเป็นน้ำดื่ม (ต้น)
  15. ช่วยแก้อาการเจ็บตา ตาแดง ด้วยการใช้เหงือกปลาหมอทั้งต้นนำมาตำผสมกับขิง คั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาแก้อาการ (ทั้งต้น)
  16. สรรพคุณ เหงือกปลาหมอใบช่วยแก้ไข้ (ใบ)
  17. ช่วยแก้ไข้จับสั่น ด้วยการใช้ทั้งต้นเหงือกปลามานำมาตำผสมกับขิง (ทั้งต้น)
  18. ช่วยแก้พิษไข้หัว ด้วยการใช้ทั้งต้นรวมรากนำมาต้มอาบแก้อาการ (ทั้งต้น)
  19. แก้อาการไอ เมล็ดใช้ผสมกับดอกมะเฟือง เปลือกอบเชย น้ำตาลกรวด นำมาต้มรวมกันแล้วเอาแต่น้ำมากินเป็นยาแก้ไอ (เมล็ด)
  20. ช่วยขับเสมหะ (ราก)
  21. ถ้าเป็นลม ให้ใช้ต้นเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน / พริกไทย 2 ส่วน ผสมรวมกันตำให้ละเอียดเป็นผงแล้วนำมาละลายน้ำร้อนดื่ม (ต้น)
  22. ช่วยแก้โรคกระเพาะ ด้วยการใช้ทั้งต้น และพริกไทย (10:5 ส่วน) ตำผสมปั้นเป็นยาลูกกลอน (ทั้งต้น)
  23. ช่วยขับพยาธิ (เมล็ด)
  24. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นเหงือกปลาหมอกับขมิ้นอ้อย นำมาตำละลายกับน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นริดสีดวง หรือจะใช้ปรุงกับฟ้าทะลายโจร ใช้รมหัวริดสีดวงก็ได้ (ต้น,ใบ)
  25. ช่วยขับปัสสาวะ ข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ* (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  26. ช่วยรักษามุตกิดระดูขาว ตกขาวของสตรี ด้วยการใช้ใบและต้น นำตำเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง หรือน้ำมันมันงา ปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานแก้อาการ (ต้น,ใบ,ราก)
  27. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำผสมกับน้ำผึ้ง น้ำมันงา (ทั้งต้น)
  28. ช่วยรักษานิ่วในไต ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม (ใบ)
  29. ช่วยแก้ไตพิการ ข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ* (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  30. ผลช่วยขับโลหิต หรือจะเมล็ดใช้ผสมกับดอกมะเฟือง เปลือกอบเชย น้ำตาลกรวด นำมาต้มรวมกันแล้วเอาแต่น้ำมากิน หรือใช้ต้น 10 ส่วนและพริกไทย 5 ส่วน ผสมทำเป็นยาลูกกลอนกินก็ได้ (เมล็ด,ผล,ทั้งต้น)
  31. ช่วยฟอกโลหิต ข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ* (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  32. แก้พิษเลือด ข้อมูลนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ* (เปลือกต้น)
  33. ช่วยสมานแผล ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำผสมกับหัวสามสิบ ในอัตราส่วน 2:1 (ทั้งต้น)
  34. ต้นเหงือกปลาหมอ สรรพคุณช่วยรักษาแผลพุพอง (ต้น)
  35. ใบ มีรสเค็มกร่อยร้อย สรรพคุณช่วยรักษาแผลอักเสบ (ใบ)
  36. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้ต้น 3-4 ต้น นำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วต้มน้ำอาบแก้อาการ (ต้น,ใบ,เมล็ด)
  37. สำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีแผลพุพองตามผิวหนัง หากใช้ต้นมาต้มอาบและทำเป็นยากินติดต่อกันประมาณ 3 เดือนจะช่วยทำให้อาการของแผลพุพองบรรเทาลงอย่างชัดเจน (ต้น)
  38. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง หรือประดง รักษากลากเกลื้อน อีสุกอีใส (ใบ)
  39. ช่วยรักษาโรคเรื้อน คุดทะราด ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำเอาแต่น้ำกิน (ทั้งต้น)
  40. ช่วยแก้ผดผื่นคันตามร่างกาย ใช้ล้างแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ต้นสดและใบสดล้างสะอาดประมาณ 3-4 กำมือ นำมาสับแล้วต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคันติดต่อกัน 3-4 ครั้ง (ต้น,ใบ)
  41. เหงือกปลาหมอ สรรพคุณทางยาช่วยแก้ลมพิษ (ต้น)
  42. รากสดนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่มใช้เป็นยารักษาโรคงูสวัดได้ (ราก)
  43. ช่วยรักษาฝี ฝีเรื้อรัง แผลฝีหนอง ฝีดาษ ตัดรากฝี แก้พิษฝีทุกชนิดทั้งภายในภายนอก ด้วยการใช้ต้นและใบทั้งสดและแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี หรือวิธีที่สองจะนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วมแล้วต้มในน้ำเดือดทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วนำมาดื่มก่อนอาหารครั้งละ ครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง ประมาณ 2-3 อาทิตย์ หรือจะใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เกรียว แล้วป่นให้ละเอียดชงกับน้ำกินเป็นยาแก้ฝีก็ได้ (ต้น,ใบ,เมล็ด)
  44. เมล็ดใช้ปิดพอกฝี (เมล็ด)
  45. ผลมีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ (ผล,ต้น)
  46. ใบสดนำมาตำให้ละเอียด สามารถใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัดได้ (ใบ)
  47. ช่วยแก้ผิวแตกทั้งตัว ด้วยการใช้ทั้งต้นของเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน / ดีปลี 1 ส่วน ใช้ผสมกันบดให้เป็นผงชงกับร้อนดื่มแก้อาการ (ทั้งต้น)
  48. ต้น ถ้านำมาใช้จะช่วยแก้โรคเหน็บชา อาการชาทั้งตัวได้ (ต้น)
  49. รากสรรพคุณช่วยแก้อัมพาต (ราก)
  50. แก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว ด้วยการใช้ต้นกับชะเอมเทศนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนกิน (ต้น)
  51. ใบใช้เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ และแก้อาการปวดต่างๆ (ใบ)
  52. ช่วยบำรุงรากผม ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบนำมาทาให้ทั่วศีรษะ จะช่วยบำรุงรากผมได้ (ใบ)
สมุนไพรเหงือกปลาหมอ

ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ

  1. ประโยชน์เหงือกปลาหมอ ในปัจจุบันสมุนไพรเหงือกปลาหมอมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแคปซูลสมุนไพร (เหงือกปลาหมอแคปซูล) หรือเป็นยาชงสมุนไพร (เหงือกปลาหมอผงสำเร็จรูป) หรือในรูปแบบของยาเม็ด
  2. การใช้เป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัวหรืออบด้วยไอน้ำสมุนไพรเหงือกปลาหมอยังใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม จนกระทั่งแชมพูของสุนัข เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ชำนาญ หิมะคุณ), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4, ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การส่วนพฤกษศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), หนังสือยอดสมุนไพรยาอายุวัฒนะ (อาจารย์ยุวดี จอมพิทักษ์), หนังสือกายบริหารแกว่งแขน (โชคชัย ปัญจทรัพย์)
ภาพประกอบ : เว็บไซต์ phargarden.com (by Sudarat Homhual), เว็บไซต์ buriramtime.com
http://thaiherb.igetweb.com/product/223776/

เหงือกปลาหมอ บำบัดทุกโรคผิวหน้ง

งาน OTOP เพื่อสุขภาพ (เลื่อนการจัดงาน!!!)

Show Day :
27 กันยายน 2556 - 3 ตุลาคม 2556
10:00-20:00
ประเภทธุรกิจ :
Health
เข้าชม
1494
งาน OTOP เพื่อสุขภาพ (เลื่อนการจัดงานไม่มีกำหนด)
วันที่ 27 กันยายน - 3 ตุลาคม 2556 
ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพค เมืองทองธานี
งาน OTOP เพื่อสุขภาพ ด้วยรัฐบาลมีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภันณฑ์ โดยส่งเสริมการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่ตลาดโลกทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการส่งเสริมการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จึงได้กำหนดจัดงาน OTOP เพื่อสุขภาพ ของกรมการพัฒนาชุมชนและกรุงเทพมหานคร ที่ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 27 กันยายน - 3 ตุลาคม 2556 จะมีชาว OTOP ที่ผ่านการคัดสรรปี 2555 ระดับ 3-5 ดาว ที่ทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพได้รับเลือกมาร่วมงานนับพันบูธ ซึ่งยังสามารถเพิ่มจำนวนดับเบิ้ลจากการออกร้านร่วมบูธกันได้อีก (ไม่เกินบูธละ 2 รายที่มีสินค้ารหัสเดียวกัน)
วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดและเผยแพร่ ผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 
ภายในงานประกอบไปด้วยผู้ประกอบการสินค้า OTOP เพื่อสุขภาพ ระดับ 3 - 5 ดาว และสินค้าเพื่อสุขภาพอื่นๆอีกมากมายที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการผลิตและการจำหน่าย สินค้ามีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด